วันเสาร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2552

ระบบการปกครองและกฏหมาย

การเมืองไทย

ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์ เป็นประมุขของประเทศ มีนายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล

ประเทศไทย มีการจัดระเบียบการปกครอง ภายในประเทศอย่างเป็นระบบ มาช้านานแล้ว ซึ่งยังผลให้ประเทศไทยมีความเป็นปึกแผ่น และสามารถรักษาเอกราช มาได้จนถึงทุกวันนี้

การปกครองของไทย ได้ปรับและเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม กับกาลสมัย และ เป็นไปตามความต้องการ ของประเทศชาติเสมอมา ทำให้วิธีดำเนินการปกครอง แต่ละสมัยแตกต่างกันไป

สมัยสุโขทัย (พ.ศ.1781-1981) การปกครองเป็นแบบพ่อปกครองลูก ผู้ปกครองคือพระมหากษัตริย์ คำนำหน้าของพระมหากษัตริย์ไทยในสมัยนั้นจึงใช้ว่า "พ่อขุน"

สมัยอยุธยา (พ.ศ.1893-2310) เริ่มต้นเมื่อพระเจ้าอู่ทองทรงตั้งกรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นราชธานีเมื่อราวปี พ.ศ.1893 คำที่ใช้เรียกพระเจ้าอู่ทองมิได้เรียก "พ่อขุน" อย่างที่เรียกกันมาครั้งสุโขทัย แต่เรียกว่า"สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว" พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะเทวราช หรือสมมติเทพ เป็นองค์รัฐาธิปัตย์ปกครองแผ่นดิน

สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ.2325-2475) ได้นำเอาแบบอย่าง การปกครองในสมัยสุโขทัย และอยุธยามาผสมกัน ฐานะของพระมหากษัตริย์เปลี่ยนแปลงไป ไม่ได้อยู่ในฐานะเทวราช หรือสมมติเทพดังแต่ก่อน ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์ กับราษฎร มีความใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น ถึงแม้จะปกครอง ตามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่มีลักษณะประชาธิปไตยแฝงอยู่ ในหลายรูปแบบ เช่น แทรกอยู่ในการปกครอง พระมหากษัตริย์ทรงให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนในการดำรงชีวิต

การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สิ้นสุดลงเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 โดยคณะราษฎร์ การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ นับเป็นจุดเริ่มต้น ของการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย็เป็นประมุข มีศูนย์อำนาจการปกครองอยู่ที่ 3 สถาบันสำคัญคือ สถาบันนิติบัญญัติ ซึ่งมีรัฐสภาเป็นผู้ใช้อำนาจในการออกกฎหมาย สถาบันบริหารซึ่งมี คณะรัฐมนตรี เป็นผู้ใช้อำนาจบริหาร และสถาบันตุลาการ ซึ่งมีศาลสถิตยุติธรรม เป็นผู้ใช้อำนาจหน้าที่พิพากษาอรรถคดีในพระปรมาภิไธย

การแบ่งเขตการปกครองของไทย

การปกครองของประเทศไทยแบ่งเขตการปกครองเป็นส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น นอกจากนี้ยังมี เขตปกครองพิเศษ 2 เขต คือ "กรุงเทพมหานคร" กับ "เมืองพัทยา" ซึ่งทั้งสองเขตการปกครองนี้มีพระราชบัญญัติแยกต่างหากจากพระราชบัญญัติการปกครองส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น

เขตการปกครองส่วนกลางประกอบด้วยกระทรวงทบวงกรม การปกครองส่วนภูมิภาคแบ่งออกเป็นจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน เขตการปกครองส่วนท้องถิ่นแบ่งออกเป็นเทศบาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ได้กำหนดให้มีการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นจังหวัดและอำเภอ

จังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคลการตั้งยุบและเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาข้าราชการของหน่วยงานต่างๆ ทั้งในและนอกสังกัดกระทรวงมหาดไทยและรับผิดชอบงานบริหารราชการของจังหวัดส่วนราชการที่สำคัญและสังกัดกระทรวงมหาดไทย คือสำนักงานจังหวัดและที่ทำการปกครองจังหวัด

อำเภอเป็นหน่วยราชการบริหารรองจากจังหวัดการตั้งยุบและเปลี่ยนเขตอำเภอให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา มีนายอำเภอเป็นหัวหน้าปกครอง บังคับบัญชาบรรดาข้าราชการในอำเภอ และงานบริหารราชการ ของอำเภอ ส่วนราชการประจำอำเภอที่สำคัญ คือ ที่ทำการปกครองอำเภอ และสำนักงานอำเภอ

กิ่งอำเภอ เป็นส่วนหนึ่งของอำเภอ ตั้งตามกฎหมายลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2547 มีปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอเป็นหัวหน้า มีองค์กรที่สำคัญ คือ ที่ทำการปกครองกิ่งอำเภอ

ตำบลและหมู่บ้าน เป็นหน่วยการปกครองส่วนย่อยของอำเภอ หรือกิ่งอำเภอ ตั้งตาม พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ตำบลจัดตั้งขึ้นโดยประกาศของกระทรวงมหาดไทย มีกำนันเป็นผู้รับผิดชอบตำบล ส่วนหมู่บ้าน จัดตั้งโดยประกาศจังหวัด มีผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้รับผิดชอบหมู่บ้าน

นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีเขตการปกครองพิเศษ 2 แห่ง คือ กรุงเทพมหานคร และ เมืองพัทยา พระราชบัญญัติกรุงเทพมหานคร (กทม.) แบ่งการปกครองออกเป็นเขต (อำเภอ) แขวง (ตำบล) แม้จะยังมีหมู่บ้านอยู่บ้างในเขตรอบนอกก็ยังจัดอยู่ในแขวง

กทม.มีสภากรุงเทพมหานคร ซึ่งทำหน้าที่นิติบัญญัติมีสมาชิกมาจากการเลือกตั้งเขตละ 1 คน เรียกว่าสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร หรือ ส.ก.มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด ทำหน้าที่บริหาร 1 คน และรองผู้ว่าการอีกจำนวนหนึ่ง (4 คน) ซึ่งผู้ว่าราชการ กทม.เป็นผู้แต่งตั้ง มีข้าราชการตั้งแต่ปลัด กทม.ลงไปถึงพนักงานทั้งสังกัดเขตและสังกัดสำนักอีกจำนวนหนึ่ง มีข้อบัญญัติของตนเองที่ออกโดยสภา กทม.

ส่วนเขตปกครองทั้ง 50 เขต มีสภาเป็นของตัวเอง คือสภาเขต มาจากการเลือกตั้งมีจำนวนเขตละ 7 คน (โดยประมาณ) มีผู้อำนวยการเขตมาจากการแต่งตั้งของผู้ว่าราชการ กทม. เช่นเดียวกับผู้อำนวยการสำนัก นอกจากนั้น กทม.ยังมีคณะกรรมการกรุงเทพมหานคร (กก.) ประหนึ่งที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการ กทม.อีกชุดหนึ่ง

รายชื่อโรงเรียนในกรุงเทพมหานคร

โรงเรียนมัธยม สพฐ.
• โรงเรียนกุนนทีรุทธารามวิทยาคม เขตดินแดง
• โรงเรียนจันทร์ประดิษฐารามวิทยาคม เขตภาษีเจริญ
• โรงเรียนจันทร์หุ่นบำเพ็ญ เขตห้วยขวาง
• โรงเรียนเจ้าพระยาวิทยาคม เขตยานนาวา
• โรงเรียนแจงร้อนวิทยา เขตราษฎร์บูรณะ
• โรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย เขตบางกอกน้อย
• โรงเรียนไชยฉิมพลีวิทยาคม เขตภาษีเจริญ
• โรงเรียนดอนเมืองจาตุรจินดา เขตดอนเมือง
• โรงเรียนดอนเมืองทหารอากาศบำรุง เขตดอนเมือง
• โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เขตปทุมวัน
• โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า เขตสะพานสูง
• โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ เขตสวนหลวง
• โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา เขตห้วยขวาง
• โรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย เขตสัมพันธวงศ์
• โรงเรียนทวีธาภิเศก เขตบางกอกใหญ่
• โรงเรียนทวีธาภิเศก 2 เขตบางขุนเทียน
• โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (ทวีวัฒนา) ในพระราชูปถัมภ์ฯ เขตทวีวัฒนา
• โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดน้อยใน) ในพระราชูปถัมภ์ฯ เขตตลิ่งชัน
• โรงเรียนเทพลีลา เขตบางกะปิ
• โรงเรียนเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
• โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า เขตลาดกระบัง
• โรงเรียนธนบุรีวรเทพีพลารักษ์ เขตธนบุรี
• โรงเรียนนนทรีวิทยา เขตยานนาวา
• โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า เขตสะพานสูง
• โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา เขตวังทองหลาง
• โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เบญจมราชาลัย เขตคลองสามวา
• โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา 2 เขตคลองสามวา
• โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล เขตทวีวัฒนา
• โรงเรียนนวมินทราชูทิศ กรุงเทพมหานคร เขตบึงกุ่ม
• โรงเรียนนวลนรดิศวิทยาคม รัชมังคลาภิเษก เขตบางบอน
• โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เขตวังทองหลาง
• โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 2 เขตบึงกุ่ม
• โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 4 เขตหนองจอก
• โรงเรียนบางกะปิ เขตบางกะปิ
• โรงเรียนบางกะปิสุขุมนวพันธ์อุปถัมภ์ เขตบางกะปิ
• โรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม เขตราษฎร์บูรณะ
• โรงเรียนบางมดวิทยา เขตจอมทอง
• โรงเรียนเบญจมราชาลัย เขตพระนคร
• โรงเรียนปทุมคงคา เขตคลองเตย
• โรงเรียนปัญญาวรคุณ เขตบางแค
• โรงเรียนพรตพิทยพยัต เขตลาดกระบัง
• โรงเรียนพระโขนงพิทยาลัย เขตพระโขนง
• โรงเรียนพิทยาลงกรณ์พิทยาคม เขตบางขุนเทียน
• โรงเรียนพุทธจักรวิทยา เขตบางรัก
• โรงเรียนโพธิสารพิทยากร เขตตลิ่งชัน
• โรงเรียนมหรรณพาราม เขตตลิ่งชัน
• โรงเรียนมักกะสันพิทยา เขตราชเทวี
• โรงเรียนมัธยมวัดดาวคนอง เขตธนบุรี
• โรงเรียนมัธยมวัดดุสิตาราม เขตบางกอกน้อย
• โรงเรียนมัธยมวัดธาตุทอง เขตวัฒนา
• โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง เขตบางกอกน้อย
• โรงเรียนมัธยมวัดบึงทองหลาง เขตบางกะปิ
• โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร เขตดุสิต
• โรงเรียนมัธยมวัดมกุฏกษัตริย์ เขตพระนคร
• โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ เขตจอมทอง
• โรงเรียนมัธยมวัดหนองแขม เขตหนองแขม
• โรงเรียนมัธยมวัดหนองจอก เขตหนองจอก
• โรงเรียนยานนาเวศวิทยาคม เขตสาทร
• โรงเรียนโยธินบูรณะ เขตดุสิต
• โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน เขตบางขุนเทียน
• โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางเขน เขตบางเขน
• โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชลาดกระบัง เขตลาดกระบัง
• โรงเรียนราชดำริ เขตประเวศ
• โรงเรียนราชนันทาจารย์สามเสนวิทยาลัย 2 เขตบางซื่อ
• โรงเรียนราชวินิตบางเขน เขตหลักสี่
• โรงเรียนราชวินิตบางแคปานขำ เขตบางแค
• โรงเรียนราชวินิต มัธยม เขตดุสิต
• โรงเรียนฤทธิณรงค์รอน เขตบางกอกใหญ่
• โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย เขตสายไหม
• โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย 2 เขตสายไหม
• โรงเรียนลาดปลาเค้าพิทยาคม เขตลาดพร้าว
• โรงเรียนวชิรธรรมสาธิต เขตพระโขนง
• โรงเรียนวัดนวลนรดิศ เขตภาษีเจริญ
• โรงเรียนวัดน้อยนพคุณ เขตดุสิต
• โรงเรียนวัดบวรนิเวศ เขตพระนคร
• โรงเรียนวัดบวรมงคล เขตบางพลัด
• โรงเรียนวัดประดู่ในทรงธรรม เขตบางกอกใหญ่
• โรงเรียนวัดปากน้ำวิทยาคม เขตตลิ่งชัน
• โรงเรียนวัดพุทธบูชา เขตทุ่งครุ
• โรงเรียนวัดรางบัว เขตภาษีเจริญ
• โรงเรียนวัดราชบพิธ เขตพระนคร
• โรงเรียนวัดราชโอรส เขตจอมทอง
• โรงเรียนวัดราชาธิวาส เขตดุสิต
• โรงเรียนวัดสระเกศ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
• โรงเรียนวัดสังเวช เขตพระนคร
• โรงเรียนวัดสุทธิวราราม เขตสาทร
• โรงเรียนวัดอินทาราม เขตธนบุรี
• โรงเรียนวิมุตยารามพิทยากร เขตบางพลัด
• โรงเรียนศรีพฤฒา เขตสะพานสูง
• โรงเรียนศรีอยุธยา เขตราชเทวี
• โรงเรียนศีลาจารพิพัฒน์ เขตบางซื่อ
• โรงเรียนศึกษานารี เขตธนบุรี
• โรงเรียนศึกษานารีวิทยา เขตบางบอน
• โรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ เขตมีนบุรี
• โรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒาราม เขตบางรัก
• โรงเรียนสตรีวัดระฆัง เขตบางกอกน้อย
• โรงเรียนสตรีวัดอัปสรสวรรค์ เขตภาษีเจริญ
• โรงเรียนสตรีวิทยา เขตพระนคร
• โรงเรียนสตรีวิทยา 2 เขตลาดพร้าว
• โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย เขตสาทร
• โรงเรียนสตรีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ เขตมีนบุรี
• โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เขตพระนคร
• โรงเรียนสวนอนันต์ เขตบางกอกน้อย
• โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย เขตราชเทวี
• โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย เขตพญาไท
• โรงเรียนสายน้ำผึ้ง เขตคลองเตย
• โรงเรียนสายปัญญา ในพระราชินูปถัมภ์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
• โรงเรียนสารวิทยา เขตจตุจักร
• โรงเรียนสิริรัตนาธร เขตบางนา
• โรงเรียนสีกัน (วัฒนานันท์อุปถัมภ์) เขตดอนเมือง
• โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี เขตดินแดง
• โรงเรียนสุวรรณพลับพลาพิทยาคม เขตตลิ่งชัน
• โรงเรียนสุวรรณสุทธารามวิทยา เขตบางซื่อ
• โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม เขตบางกอกน้อย
• โรงเรียนหอวัง เขตจตุจักร
• อิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทย เขตทุ่งครุ

โรงเรียนสาธิต

• โรงเรียนมัธยมสาธิตวัดพระศรีมหาธาตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร เขตบางเขน
• โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขตปทุมวัน
• โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เขตดุสิต
• โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง เขตบางกะปิ
• โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน เขตปทุมวัน
• โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร เขตวัฒนา
• โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เขตจตุจักร
• โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เขตธนบุรี

โรงเรียนเอกชน
• โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เขตบางรัก
• โรงเรียนกรพิทักษ์ศึกษา เขตบางนอน
• โรงเรียนกสิณธรวิทยา เขตภาษีเจริญ
• โรงเรียนกสิณธรอนุสรณ์ เขตบางแค
• โรงเรียนเกษมพิทยา เขตวัฒนา
• โรงเรียนเขมะสิริอนุสสรณ์ เขตบางพลัด
• โรงเรียนคริสต์ธรรมศึกษา เขตวัฒนา
• โรงเรียนจิตรลดา เขตดุสิต
• โรงเรียนชินวร เขตบึงกุ่ม
• โรงเรียนซางตาครู้สคอนแวนท์ เขตธนบุรี
• โรงเรียนซางตาครู้สศึกษา เขตธนบุรี
• โรงเรียนเซนต์คาเบรียล เขตดุสิต
• โรงเรียนเซนต์จอห์น เขตจตุจักร
• โรงเรียนเซนต์ดอมินิก เขตราชเทวี
• โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์ เขตดุสิต
• โรงเรียนเซนต์ไมเกิ้ล เขตสาทร
• โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ เขตบางรัก
• โรงเรียนดลวิทยา เขตห้วยขวาง
• โรงเรียนดรุณาลัยสุขุมวิท เขตคลองเตย
• โรงเรียนทิวไผ่งาม เขตบางพลัด
• โรงเรียนนราทร เขตประเวศ
• โรงเรียนเบญจมินทร์ เขตบึงกุ่ม
• โรงเรียนผะดุงศิษย์พิทยา เขตบางซื่อ
• โรงเรียนพระมารดานิจจานุเคราะห์ เขตบางกะปิ
• โรงเรียนพระแม่มารีสาทร เขตสาทร
• โรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนต์ เขตคลองเตย
• โรงเรียนเพ็ญสมิทธ์ เขตบางกะปิ
• โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย เขตปทุมวัน
• โรงเรียนมีนประสาทวิทยา เขตมีนบุรี
• โรงเรียนแม่พระฟาติมา เขตดินแดง
• โรงเรียนราชินี เขตพระนคร
• โรงเรียนราชินีบน เขตดุสิต
• โรงเรียนรุ่งอรุณ เขตบางขุนเทียน
• โรงเรียนลาซาล เขตบางนา
• โรงเรียนรุ่งเรืองวิทยา เขตบางนา
• โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย เขตดุสิต
• โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย เขตวัฒนา
• โรงเรียนศรีวิกรม์ เขตคลองเตย
• โรงเรียนสตรีประเทืองวิทย์ เขตราชเทวี
• โรงเรียนสตรีวรนาถบางเขน เขตจตุจักร
• โรงเรียนสายอักษร เขตบึงกุ่ม
• โรงเรียนสารสาสน์เอกตรา เขตยานนาวา
• โรงเรียนสารสาสน์พัฒนา เขตยานนาวา
• โรงเรียนสารสาสน์วิเทศร่มเกล้า เขตลาดกระบัง
• โรงเรียนสีตบุตรบำรุง เขตปทุมวัน
• โรงเรียนเสสะเวชวิทยา เขตบางกอกใหญ่
• โรงเรียนแสงอรุณ เขตธนบุรี
• โรงเรียนอัสสัมชัญ เขตบางรัก
• โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ เขตบางรัก
• โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี เขตบางแค
• โรงเรียนอำนวยศิลป์ เขตราชเทวี
• โรงเรียนอุดมศึกษา เขตวังทองหลาง
• โรงเรียนแอ๊ดเวนตีสเอกมัย เขตวัฒนา
• โรงเรียนตรีมิตรวิทยา เขตภาษีเจริญ


โรงเรียนนานาชาติ

• โรงเรียนนานาชาติเซนต์จอห์น เขตจตุจักร
• โรงเรียนนานาชาติเทร็ลล์ เขตบางกะปิ
• โรงเรียนนานาชาติโมเดิร์น เขตคลองเตย
• โรงเรียนนานาชาติใหม่แห่งประเทศไทย เขตวัฒนา
• โรงเรียนนานาชาติเอกมัย เขตคลองเตย
• โรงเรียนบางกอกพัฒนา เขตคลองเตย
• โรงเรียนประชาคมนานาชาติ เขตสาทร
• โรงเรียนร่วมฤดีวิเทศศึกษา เขตมีนบุรี

โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร
• โรงเรียนกลางคลองสอง
• โรงเรียนกันตทาราราม
• โรงเรียนการเคหะท่าทราย
• โรงเรียนไขศรีปราโมชอนุสรณ์
• โรงเรียนคลองกลันตัน
• โรงเรียนคลองกะจะ
• โรงเรียนคลองทรงกระเทียม
• โรงเรียนคลองปักหลัก
• โรงเรียนคลองรางจาก
• โรงเรียนคลองสอง
• โรงเรียนคลองหนองใหญ่
• โรงเรียนฉิมพลี
• โรงเรียนชุมทางตลิ่งชัน
• โรงเรียนซอยแอนเนกซ์ เขตสายไหม
• โรงเรียนดงมูลเหล็ก
• โรงเรียนเทพวิทยา
• โรงเรียนนาคนาวาอุปถัมภ์
• โรงเรียนนาหลวง
• โรงเรียนบัวแก้วเกษร
• โรงเรียนบางขุนเทียนศึกษา
• โรงเรียนบางแค (เนื่องสังฯ)
• โรงเรียนบางจาก (นาคเผื่อนอุปถัมภ์)
• โรงเรียนบางมด
• โรงเรียนบางยี่ขันวิทยาคม
• โรงเรียนบ้านเกาะ
• โรงเรียนบ้านเจียรดับ
• โรงเรียนบ้านนายเหรียญ
• โรงเรียนบ้านบัวมล
• โรงเรียนบ้านบางกะปิ
• โรงเรียนบ้านลาดพร้าว
• โรงเรียนบ้านลำต้นกล้วย
• โรงเรียนบึงขวาง
• โรงเรียนเบญจมบพิตร
• โรงเรียนปฐมบุตรอิศราราม
• โรงเรียนปทุมวัน
• โรงเรียนประชานิเวศน์ (ประถม)
• โรงเรียนประชานิเวศน์ (มัธยม)
• โรงเรียนประชาภิบาล
• โรงเรียนประชาราษฎร์บำเพ็ญ
• โรงเรียนประชาอุทิศ
• โรงเรียนเปรมประชา
• โรงเรียนพระยามนธาตุราชศรีพิจิตร์
• โรงเรียนพระราม 9 กาญจนาภิเษก
• โรงเรียนพหลโยธิน
• โรงเรียนเพี้ยนพินอนุสรณ์
• โรงเรียนมัธยมศึกษาประชาฯ
• โรงเรียนมีนบุรี
• โรงเรียนรัตนจีนะอุทิศ
• โรงเรียนราชบพิธ
• โรงเรียนรุ่งเรืองอุปถัมภ์
• โรงเรียนวัดกก
• โรงเรียนวัดกระจับพินิจ
• โรงเรียนวัดกระโจมทอง
• โรงเรียนวัดกัลยาณมิตร
• โรงเรียนวัดกำแพง
• โรงเรียนวัดแก้วแจ่มฟ้า
• โรงเรียนวัดขุนจันทร์
• โรงเรียนวัดโคนอน
• โรงเรียนวัดจักรวรรดิ
• โรงเรียนวัดจันทร์นอก
• โรงเรียนวัดจันทร์ใน
• โรงเรียนวัดเจ้าอาม
• โรงเรียนวัดฉัตรแก้วจงกลณี
• โรงเรียนวัดช่องนนทรี
• โรงเรียนวัดช่องลม
• โรงเรียนวัดชัยพฤกษมาลา
• โรงเรียนวัดช่างเหล็ก
• โรงเรียนวัดดอกไม้
• โรงเรียนวัดดอน
• โรงเรียนวัดดาวคะนอง
• โรงเรียนวัดตรีทศเทพ
• โรงเรียนวัดไตรรัตนาราม
• โรงเรียนวัดทองเพลง
• โรงเรียนวัดทองสุทธาราม
• โรงเรียนวัดทัศนารุณสุนทริการาม
• โรงเรียนวัดเทพลีลา
• โรงเรียนวัดเทวราชกุญชร
• โรงเรียนวัดไทร
• โรงเรียนวัดธรรมมงคล
• โรงเรียนวัดธาตุทอง
• โรงเรียนวัดนาคนิมิตร
• โรงเรียนวัดนางนอง
• โรงเรียนวัดนินสุขาราม
• โรงเรียนวัดนิมมานรดี
• โรงเรียนวัดบางกระดี่
• โรงเรียนวัดบางเตย
• โรงเรียนวัดบางน้ำชน
• โรงเรียนวัดบางบอน
• โรงเรียนวัดบางปะกอก
• โรงเรียนวัดบางพลัด
• โรงเรียนวัดบางสะแกนอก
• โรงเรียนวัดบางสะแกใน
• โรงเรียนวัดบางเสาธง
• โรงเรียนวัดบำเพ็ญเหนือ
• โรงเรียนวัดบึงทองหลาง
• โรงเรียนวัดบุคคโล
• โรงเรียนวัดปทุมวนาราม
• โรงเรียนวัดประดิษฐาราม
• โรงเรียนวัดประดู่
• โรงเรียนวัดประยุรวงศ์
• โรงเรียนวัดปริวาศ
• โรงเรียนวัดปุรณาวาส
• โรงเรียนวัดเปาโรหิตย์
• โรงเรียนวัดไผ่เงินโชตนาราม
• โรงเรียนวัดไผ่ตัน
• โรงเรียนวัดพระเชตุพน
• โรงเรียนวัดพระพิเรนทร์
• โรงเรียนวัดพระยาทำ
• โรงเรียนวัดพระยาปลา
• โรงเรียนวัดพระยาสุเรนทร์
• โรงเรียนวัดพิชัย
• โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง
• โรงเรียนวัดโพธินิมิตร
• โรงเรียนวัดโพธิ์เรียง
• โรงเรียนวัดมกุฎกษัตริยาราม
• โรงเรียนวัดมหรรณพ์
• โรงเรียนวัดมหาธาตุ
• โรงเรียนวัดมหาพฤฒาราม
• โรงเรียนวัดมะกอก
• โรงเรียนวัดมะลิ
• โรงเรียนวัดยางสุทธาราม
• โรงเรียนวัดยานนาวา
• โรงเรียนวัดยายร่ม
• โรงเรียนวัดรวก
• โรงเรียนวัดรัชฎาธิฐาน
• โรงเรียนวัดราชคฤห์
• โรงเรียนวัดราชนัดดา
• โรงเรียนวัดราชบูรณะ
• โรงเรียนวัดราชวรินทร์
• โรงเรียนวัดราชสิงขร
• โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง
• โรงเรียนวัดลำกะดาน
• โรงเรียนวัดลำต้อยติ่ง
• โรงเรียนวัดวิมุตยาราม
• โรงเรียนวัดวิเศษการ
• โรงเรียนวัดเวฬุราชิณ
• โรงเรียนวัดศรีสุดาราม
• โรงเรียนวัดศาลาครืน
• โรงเรียนวัดเศวตฉัตร
• โรงเรียนวัดสร้อยทอง
• โรงเรียนวัดสะแกงาม
• โรงเรียนวัดสังฆราชา
• โรงเรียนวัดสามัคคีสุทธาวาส
• โรงเรียนวัดสุทธาราม
• โรงเรียนวัดสุทัศน์
• โรงเรียนวัดสุวรรณคีรี
• โรงเรียนวัดเสมียนนารี
• โรงเรียนวัดหลักสี่ (ทองใบทิวารีวิทยา)
• โรงเรียนวัดใหญ่ศรีสุพรรณ
• โรงเรียนวัดใหม่ยายนุ้ย
• โรงเรียนวัดไหม่อมตรส
• โรงเรียนวัดอัมพวา
• โรงเรียนวัดอ่างแก้ว (จีบ ปานขำ)
• โรงเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม
• โรงเรียนวัดอินทรวิหาร
• โรงเรียนวัดอินทราวาส
• โรงเรียนวัดอุดมรังสี
• โรงเรียนวิชากร
• โรงเรียนวิชูทิศ
• โรงเรียนศรีเอี่ยมอนุสรณ์
• โรงเรียนศาลเจ้า (ห้าวนุกูลวิทยา)
• โรงเรียนสมโภชกรุงอนุสรณ์ (200 ปี)
• โรงเรียนสวัสดีวิทยา
• โรงเรียนสามแยกท่าไข่
• โรงเรียนสามัคคีบำรุง
• โรงเรียนสายไหม เขตสายไหม
• โรงเรียนสุโขทัย
• โรงเรียนสุวิทย์เสรีอนุสรณ์
• โรงเรียนสุเหร่าทรายกองดิน
• โรงเรียนสุเหร่าสามวา
• โรงเรียนสุเหร่าสามอิน เขตวัฒนา
• โรงเรียนหนองจอกพิทยานุสรณ์
• โรงเรียนหมู่บ้านเกาะโพธิ์
• โรงเรียนหมู่บ้านเศรษฐกิจ
• โรงเรียนอยู่เป็นสุขอนุสรณ์
• โรงเรียนออเงิน
• โรงเรียนอำนวยกนกศิริอนุสรณ์
• โรงเรียนอิสลามลำไทร

มหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการศึกษาของประเทศ มีสถาบันอุดมศึกษาตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก ได้แก่
• จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
• มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
• มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ท่าพระจันทร์
• มหาวิทยาลัยรามคำแหง
• มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
• มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ
• สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
• มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ประชาอุทิศ บางขุนเทียน
• มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
• มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
• มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
• มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
• สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน
• มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
• มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตกล้วยน้ำไท
• มหาวิทยาลัยเกริก
• มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
• มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
• มหาวิทยาลัยมหิดล
• มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
• มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
• มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
• มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
• มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
• มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี
• มหาวิทยาลัยศรีปทุม
• มหาวิทยาลัยสยาม
• มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
• มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ วิทยาเขตสุวรรณภูมิ, วิทยาเขตหัวหมาก
• มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
• สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)
• วิทยาลัยรัชต์ภาคย์
• วิทยาลัยทองสุข
• มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
• วิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
• วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล
• สถาบันการบินพลเรือน
นอกจากนี้ยังมีสถาบันอุดมศึกษาในต่างจังหวัดที่เข้ามาตั้งศูนย์วิทยบริการและศูนย์การศึกษาในกรุงเทพมหานครอีกหลายแห่ง เช่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นต้น

ปัญหาในปัจจุบัน

การจราจรติดขัด

ถือเป็นปัญหาหลักของกรุงเทพมหานคร รัฐบาลที่ผ่านมาหลายสมัยมีความพยายามที่จะแก้ปัญหานี้ มีโครงการต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นโครงการทางด่วนยกระดับ การก่อสร้างสะพานและอุโมงค์ข้ามแยก การก่อสร้างรถไฟฟ้าและรถไฟใต้ดิน รวมถึงการตัดถนนเพิ่ม แต่ก็ยังคงไม่สามารถแก้ปัญหาการจราจรให้ลดลงได้มากนัก เนื่องจากจำนวนรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นทุกปีอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงเวลาเร่งด่วน (06.00-09.00 น. และ 16:00-19:00 น.) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเช้าวันจันทร์และเย็นวันศุกร์

นอกเหนือไปจากสาเหตุขั้นต้นแล้ว การที่ผู้ขับขี่ส่วนใหญ่ขาดสำนึกและวินัยจราจร รวมถึงการไม่เข้มงวดกวดขันให้ผู้ขับขี่ปฏิบัติตามกฎจราจร ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัด การจอดรถหรือหยุดรถในเขตห้ามจอดของทั้งรถส่วนบุคคลและรถสาธารณะ การเปลี่ยนช่องจราจรอย่างกระทันหันซึ่งมักจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุ สะท้อนให้เห็นถึงการขาดมารยาทและวินัยในการใช้รถใช้ถนน

สินค้าละเมิดลิขสิทธิ์

การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นปัญหาที่สำคัญอีกปัญหาหนึ่ง สินค้าละเมิดลิขสิทธิ์สามารถพบเห็นได้โดยทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร ไม่ว่าจะเป็น ซีดีเพลง (โดยมากเป็นแบบซีดีรวมไฟล์เพลงเอ็มพีสาม) วีซีดีและดีวีดีภาพยนตร์ ทั้งภาพยนตร์ไทยและต่างประเทศ รวมไปถึง ซอฟต์แวร์ เกม และโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ โดยสถานที่ที่มีปัญหาเรื่องการจำหน่ายสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์มาก ได้แก่ พันธุ์ทิพย์พลาซ่า, คลองถม, ตะวันนา เป็นต้นซึ่งสามารถพบเห็นและหาซื้อสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ได้โดยง่าย สะท้อนให้เห็นถึงการไม่เอาจริงเอาจัง ในการบังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์ และการที่ผู้ซื้อไม่เห็นความสำคัญของการละเมิดลิขสิทธิ์ และทรัพย์สินทางปัญญา

การคมนาคม กรุงเทพมหานคร

เดิมทีกรุงเทพมหานครใช้การสัญจรทางน้ำเป็นหลัก โดยมีคลองมากจนได้ฉายาว่า เวนิสตะวันออก แต่ปัจจุบันบางแห่งได้มีการถมคลองเพื่อที่อยู่อาศัย การคมนาคมจึงเน้นหนักไปทางบกแทน

กรุงเทพมหานครได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่การจราจรติดขัดเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ได้มีการแก้ไขปัญหาการจราจรมากมาย เช่น การสร้างทางด่วน หรือ รถไฟฟ้า ขึ้น

การคมนาคมในกรุงเทพมหานคร นั่นสามารถทำได้หลายทาง เช่น การนั่งรถโดยสารประจำทาง (รถเมล์) แท็กซี่ รถจักรยานยนต์รับจ้าง

รถโดยสารประจำทาง จะมีหลายสายเพื่อเป็นการบริการประชาชน ให้บริการในราคาย่อมเยา สำหรับรถโดยสารประจำทางจะเริ่มต้นที่ 7 บาท สำหรับรถพัดลมของขสมก. และ 11 บาทสำหรับรถปรับอากาศ และ 12 บาทสำหรับรถโดยสารปรับอากาศแบบยูโร 2

นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นมา ได้มีการปรับอัตราค่าโดยสารแท๊กซี่ขึ้น โดยอัตราค่าโดยสารที่ใช้กันอยู่ คือ

กิโลเมตรที่ ค่าโดยสาร
0-1 35 บาท
1-12 5 บาท/กิโลเมตร
12-20 5.50 บาท/กิโลเมตร
20-40 6 บาท/กิโลเมตร
40-60 6.50 บาท/กิโลเมตร
60-80 7.50 บาท/กิโลเมตร
80 ขึ้นไป 8.50 บาท/กิโลเมตร

การจราจรในกรุงเทพมหานคร
ทางรถยนต์
กรุงเทพมหานครเป็นจุดเริ่มต้นของถนนหลักของประเทศไทย ได้แก่

ถนนพหลโยธิน (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 สายเหนือ)
ถนนมิตรภาพ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 สายตะวันออกเฉียงเหนือ)
ถนนสุขุมวิท (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 สายตะวันออก)
ถนนเพชรเกษม (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 สายใต้)
ถนนพระราม 2 (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35)

ทางรถไฟ
การเดินทางด้วยรถไฟสามารถทำได้ โดยมีสถานีรถไฟต้นทางสามแห่งคือ

สถานีรถไฟกรุงเทพ (สถานีรถไฟหัวลำโพง) สำหรับเดินทางไปยังภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนล่าง
สถานีรถไฟธนบุรี (สถานีรถไฟบางกอกน้อย) สำหรับเดินทางไปยังภาคใต้ตอนบนและภาคตะวันตก
สถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ สำหรับเดินทางเลียบปากอ่าวไทยไปยังปากน้ำท่าจีนและปากน้ำแม่กลอง
ในอนาคต การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ซึ่งร่วมกับสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) มีแผนที่จะปรับปรุงสถานีรถไฟชุมทางบางซื่อให้เป็นสถานีหลักเพียงแห่งเดียวของกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ จะมีการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟทางไกลทั้งสามส่วนเข้าด้วยกันภายใต้โครงการรถไฟฟ้าชานเมือง (สายสีแดงเข้ม รังสิต-มหาชัย และสายสีแดงอ่อน ตลิ่งชัน-สุวรรณภูมิ)


รถๆฟฟ้าบีทีเอสบริเวณแยกศาลาแดง
ทางรถไฟฟ้า
เมื่อปี พ.ศ. 2542 โครงการรถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS - ย่อมาจาก Bangkok Transit System) ได้เปิดใช้งาน ซึ่งเป็นรถไฟระบบรางคู่ที่สร้างบนทางยกระดับ เป็นรางมาตรฐาน 1.435 เมตร

ทางรถไฟฟ้าที่ดำเนินการในปัจจุบันมีดังนี้


สายสุขุมวิท (สีเขียวอ่อน)
สายสีลม (สีเขียวเข้ม)

ทางเข้าสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินห้วยขวาง
ทางรถไฟใต้ดิน
รถไฟใต้ดินได้เปิดบริการเมื่อปีพ.ศ. 2547 ในชื่อโครงการรถไฟฟ้ามหานคร เป็นรางมาตรฐาน 1.435 เมตร


สายเฉลิมรัชมงคล (สีน้ำเงิน)

ทางรถโดยสารประจำทาง (ต่างจังหวัด)
รถโดยสารประจำทางหรือรถโดยสารประจำทางปรับอากาศ สำหรับเดินทางไปจังหวัดต่างๆ ในประเทศไทย โดยมีสถานีหลักอยู่ที่

สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) (หรือที่เรียกกันติดปากว่า หมอชิตใหม่ หรือ หมอชิต 2) สำหรับเดินทางขึ้นเหนือ ไปภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง (รวมทั้งภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคใต้ในบางเส้นทาง)
สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (เอกมัย) สำหรับเดินทางไปภาคตะวันออก
สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี) สำหรับเดินทางลงใต้ ไปภาคใต้และภาคตะวันตก

ทางรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ
รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ คือระบบขนส่งมวลชนใหม่ของกรุงเทพมหานคร มีลักษณะคล้ายกับรถประจำทาง แต่การเดินของรถนั้นแยกออกจากถนนปกติ สายที่กำลังก่อสร้างอยู่ในปัจจุบันคือ สายช่องนนทรี-ราชพฤกษ์ ระยะทาง 16.5 กิโลเมตร โดยจะสามารถเปิดทดลองวิ่งได้ในวันที่ 12 สิงหาคมนี้ และจะให้บริการฟรีเป็นเวลา 6 เดือน

ทางอากาศ
การเดินทางทางอากาศ ในอดีตได้ใช้สนามบินดอนเมือง (ท่าอากาศยานกรุงเทพ) ซึ่งได้เปิดใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2457 ต่อมาได้มีการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (อยู่ในพื้นที่ของจังหวัดสมุทรปราการ) ซึ่งได้เปิดใช้มาตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 เวลา 03.00 น

ในปัจจุบัน ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมืองเป็นท่าอากาศยานสำหรับรองรับเที่ยวบินภายในประเทศ และมีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิสำหรับเที่ยวบินต่างประเทศและเที่ยวบินในประเทศบางส่วน


ทางน้ำ
เรือโดยสารทั้งทางแม่น้ำเจ้าพระยา และคลองมีดังนี้

เรือโดยสารคลองแสนแสบ
เรือหางยาวโดยสารคลองพระโขนง (พระโขนง - ตลาดเอื่ยมสมบัติ)
เรือด่วนเจ้าพระยา: เรือด่วนประจำทางและเรือด่วนพิเศษ (ธงส้ม ธงเหลือง ธงฟ้า และธงเขียว-เหลือง)
เรือหางยาวด่วนคลองบางกอกน้อย
เรือด่วนสาทร-คลองเตย

ประวัติกรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานครริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาพื้นที่บริเวณกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน เดิมเป็นที่ตั้งของเมืองธนบุรีศรีสมุทร ชาวต่างชาติเรียกกันว่า "บางกอก" มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยามีความสำคัญเนื่องจากเป็นเส้นทางออกสู่ทะเลและติดต่อค้าขายกับอาณาจักรต่าง ๆ เป็นเมืองหน้าด่านขนอน คอยดูแลเก็บภาษีกับเรือสินค้าทุกลำที่ผ่านเข้าออก ส่วนบริเวณปากน้ำตรงอ่าวไทย เรียกกันว่า "นิวอัมสเตอร์ดัม" มีชุมชนใหญ่และโกดังของชาวต่างประเทศไว้สำหรับพักสินค้า ปัจจุบันคือพื้นที่บริเวณอำเภอพระประแดง
ที่มาของคำว่า "บางกอก" นั้น มีข้อสันนิษฐานว่าอาจมาจากการที่แม่น้ำเจ้าพระยาคดเคี้ยวไปมา บางแห่งมีสภาพเป็นเกาะเป็นโคก จึงเรียกกันว่า "บางเกาะ" หรือ "บางโคก" หรือไม่ก็เป็นเพราะบริเวณนี้มีต้นมะกอกอยู่มาก จึงเรียกว่า "บางมะกอก" โดยคำว่า "บางมะกอก" มาจากวัดอรุณ ซึ่งเป็นชื่อเดิมของวัดดังกล่าว และต่อมาต่อมากร่อนคำลงจึงเหลือแต่คำว่าบางกอก
ต่อมาเมื่อถึงคราวเสียกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. 2310 หลังการกอบกู้อิสรภาพจากพม่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงสถาปนาเมืองธนบุรีศรีมหาสมุทรให้เป็นราชธานีแห่งใหม่ คือ กรุงธนบุรี เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2313 แต่กรุงธนบุรีมีสภาพเป็นเมืองอกแตก ตรงกลางมีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน เป็นเหตุให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ทองด้วง) มีความคิดจะย้ายเมืองไปทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อให้การป้องกันรักษาเมืองเป็นไปได้โดยง่าย


ทิวทัศน์ยามค่ำคืนของกรุงเทพมหานครเมื่อสิ้นรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงพระนามว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี มีพระราชดำริว่า ฟากตะวันออกของกรุงธนบุรีมีชัยภูมิดีกว่าตะวันตก เพราะมีลำน้ำเป็นขอบเขตอยู่กว่าครึ่ง หากข้าศึกยกมาติดถึงชานพระนคร ก็จะต่อสู้ป้องกันได้ง่ายกว่าอยู่ข้างตะวันตก จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาให้เป็นราชธานีแห่งใหม่ โดยสืบทอดศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมจากพระราชวังหลวงของกรุงศรีอยุธยา
พระองค์มีพระบรมราชโองการให้พระยาธรรมาธิกรณ์กับพระยาวิจิตรนาวี เป็นแม่กองคุมช่างและไพร่ไปวัดกะที่ดินเพื่อสร้างพระนครใหม่ในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2325 ทรงประกอบพิธียกเสาหลักเมือง เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 10 ค่ำ ย่ำรุ่งแล้ว 54 นาที ปีขาล จ.ศ. 1144 จัตวาศก ตรงกับวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 เวลา 6.54 น.และทรงประกอบพระราชพิธีปราบดาภิเษกในวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2325

ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนชื่อพระนครจาก บวรรัตนโกสินทร์ เป็น อมรรัตนโกสินทร์ และมีฐานะในการปกครองส่วนท้องถิ่นเป็น "จังหวัดพระนคร"[ต้องการแหล่งอ้างอิง
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนใหม่ขึ้น และเปลี่ยนรูปแบบผังเมืองกรุงเทพมหานครเฉกเช่นอารยประเทศ เนื่องจากในสมัยนั้นสยามประเทศถูกคุกคามจากมหาอำนาจยุโรป และตรงจุดนี้เป็นหนึ่งในข้ออ้างที่มหาอำนาจนำมาใช้เพื่อแทรกแซงและคุกคามสยามประเทศ ภายหลัง ต่างชาติยุโรปเองได้ยอมรับกรุงเทพมหานครว่า เป็นหนึ่งในเมืองที่มีผังเมืองงดงามที่สุดในโลกในสมัยนั้น

ต่อมาเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2514 รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจรได้รวม จังหวัดพระนคร และ จังหวัดธนบุรี เข้าด้วยกันเป็น นครหลวงกรุงเทพธนบุรี และภายหลังการปรับปรุงการปกครองใหม่เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515 จึงได้เปลี่ยนเป็นชื่อเป็น กรุงเทพมหานคร แต่นิยมเรียกกันว่า กรุงเทพ

อาณาเขตติดต่อ

กรุงเทพมหานครมีอาณาเขตติดต่อทางบกกับจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดสมุทรปราการ ส่วนอาณาเขตทางทะเล อ่าวไทยตอนใน ติดต่อจังหวัดเพชรบุรี จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดชลบุรี โดยมีรายละเอียดดังนี้

ทิศเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดนนทบุรีและจังหวัดปทุมธานี

ทิศตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดฉะเชิงเทราและ จังหวัดสมุทรปราการ

ทิศตะวันตก มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดสมุทรสาครและจังหวัดนครปฐม

ทิศใต้ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดสมุทรปราการ และอ่าวไทย (ส่วนที่เป็นอ่าวไทยที่เป็นพื้นที่เดิมของจังหวัดธนบุรี ปัจจุบันคือเขตบางขุนเทียน ซึ่งมีอาณาเขตทางทะเลติดต่อทางอ่าวไทยกับจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดชลบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ จุดที่อยู่ใต้สุดอยู่ที่ ละติจูด 13 องศา-13 ลิปดา-00 ฟิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา-27 ลิปดา-30 ฟิลิปดาตะวันออก ซึ่งเป็นการแบ่งตามพระราชบัญญัติกำหนดเขตจังหวัดในอ่าวไทยตอนใน พ.ศ. 2502 )

การปกครองของกรุงเทพมหานคร


กรุงเทพมหานครมีลักษณะเป็นเขตการปกครองพิเศษ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 กำหนดให้กรุงเทพมหานครเป็นทบวงการเมือง มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นนครหลวง มีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มาจากการเลือกตั้ง และเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารงาน อยู่ในตำแหน่งตามวาระคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง และมีการแต่งตั้งปลัดกรุงเทพมหานครร่วมบริหารงาน การดำเนินงานมีสภากรุงเทพมหานครที่ได้รับเลือกตั้งโดยตรงทำงานร่วมด้วย

ผู้ว่าราชการกรุงเทพคนปัจจุบัน คือ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร และปลัดกรุงเทพมหานครคนปัจจุบันคือ นายพงศักติฐ์ เสมสันต์

ตราของกรุงเทพมหานคร เป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ พระหัตถ์ทรงสายฟ้า ตรานี้กรมศิลปากรออกแบบโดยอาศัยภาพเขียนฝีพระหัตถ์ของสมเด็จกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์เป็นต้นแบบ เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2516 ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พ.ศ. 2482 ฉบับที่ 60 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 (สมัยเมื่อยังเป็นจังหวัดพระนครนั้นใช้ตราพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทเป็นตราประจำจังหวัด)
ต้นไม้ประจำกรุงเทพมหานคร คือ ต้นไทรย้อยใบแหลม (Ficus benjamina)
คำขวัญของกรุงเทพมหานคร : กรุงเทพมหานครไม่มีคำขวัญประจำจังหวัด
การปกครองในกรุงเทพมหานครแบ่งออกเป็น 50 เขตการปกครอง



เขตการปกครองกรุงเทพมหานคร

ฝั่งธนบุรี คลองสาน จอมทอง ตลิ่งชัน ทวีวัฒนา ทุ่งครุ ธนบุรี บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ บางขุนเทียน บางแค บางบอน บางพลัด ภาษีเจริญ ราษฎร์บูรณะ หนองแขม

ฝั่งพระนคร คลองเตย คลองสามวา คันนายาว จตุจักร ดอนเมือง ดินแดง ดุสิต บางกะปิ บางเขน บางคอแหลม บางซื่อ บางนา บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ ป้อมปราบศัตรูพ่าย พญาไท พระโขนง พระนคร มีนบุรี ยานนาวา ราชเทวี ลาดกระบัง ลาดพร้าว วังทองหลาง วัฒนา สวนหลวง สะพานสูง สัมพันธวงศ์ สาทร สายไหม หนองจอก หลักสี่ ห้วยขวาง

วันศุกร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2552

สถานที่สำคัญกรุงเทพมหานคร


ศาลท้าวมหาพรหม
ตั้งอยู่หน้าโรงแรมเอราวัณ เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ซึ่งประชาชน ทั้งชาวไทยและต่างประเทศให้การเคารพนับถือมาก แต่ละวันจะ มีผู้คนมาสักการะบูชากันอย่างไม่ขาดสาย ได้มีการ อัญเชิญองค์ท้าวมหาพรหมซึ่งปั้นโดยช่างกองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร มาประดิษฐานที่หน้าโรงแรมเอราวัณเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญด้านโหราศาสตร์ได้ท้วงติง ว่าฤกษ์ในการวางศิลาฤกษ์ของโรงแรมทำไว้ไม่ถูกต้อง ต้องแก้ไขด้วยการสร้างศาลท้าวมหาพรหมและศาลพระภูมิไว้ใน บริเวณโรงแรม
สวนงูสภากาชาดไทย
ตั้งอยู่ที่สถานเสาวภา สภากาชาดไทย เป็นแหล่งเลี้ยงงูพิษต่าง ๆเพื่อนำเอาพิษงูมาทำเซรุ่มฉีดรักษาผู้ถูก งูกัด มีการฉายสไลด์ ประกอบคำบรรยายและแสดงรีดพิษงู
บ้าน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์
ตั้งอยู่เลขที่ 19 ซอยพระพินิจ ถนนสาทรใต้ เป็นหมู่เรือนไทยที่เป็นที่อยู่อาศัยประกอบด้วยเรือนไม้สักขนาดต่างๆ กัน 5 หลัง หอนก และหอพระ มีนอกชานเชื่อมถึงกันตลอด ชั้นล่างเป็นใต้ถุนโล่ง มีศาลาไทยหลังใหญ่หน้าบ้านแยกไปจากกลุ่ม เรือนที่เป็นที่อยู่อาศัยเพื่อใช้ประกอบกิจกรรมต่างๆ บ้าน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์
บ้านตุ๊กตาบางกอกดอลล์ และตุ๊กตานานาชาติ
ตั้งอยู่ซอยหมอเหล็ง ถนนราชปรารภ ก่อตั้งโดยคุณหญิงทองก้อน จันทวิมล เมื่อปี พ.ศ. 2499 หลังจากกลับจากเรียนประดิษฐ์ตุ๊กตาจากโรงเรียนโอซาวาดอลล์ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เพื่อประดิษฐ์ตุ๊กตาของ ไทยออกเผยแพร่ ตุ๊กตาของที่นี่เป็นที่รู้จักกันดีของนานาชาติตลอดจนนักสะสมตุ๊กตาทั้งหลาย เนื่องมาจากความสวยงาม ของตุ๊กตาที่ประดิษฐ์ออกมามีความเป็นเอกลักษณ์แบบไทย และเคยได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดตุ๊กตา พื้นเมืองนานา ชาติครั้งที่ 3 ประจำปี พ.ศ. 2521 ที่ประเทศโปแลนด์
สวนสันติภาพ
ตั้งอยู่ใกล้กับอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ ระลึกถึงวันสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ภายในสวนตกแต่งเป็นลักษณะ สวนป่าธรรมชาติ โดยปลูกไม้ยืนต้นเป็นส่วนใหญ่ ตรงกลางสวนมีสระน้ำ 3 สระล้อมรอบด้วยทางเท้า มีถนนสำหรับวิ่ง ออกกำลังกาย และยังเป็นสถานที่พักผ่อนสำหรับ ประชาชนทั่วไป
พระที่นั่งและสวนสาธารณะสันติชัยปราการ
ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณถนนพระอาทิตย์ รัฐบาลและประชาชนได้ดำเนินการจัดสร้างขึ้นเนื่องในโอกาสพระราชพิธี มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542 ด้านหน้าสวนมีป้อมพระสุเมรุ ซึ่งเป็นป้อมที่สร้างตามแนว กำแพงพระนครชั้นนอกตั้งแต่สมัย รัชกาลที่ 1
ตึกถาวรวัตถุ
อยู่ใกล้สนามหลวงติดกับวัดมหาธาตุ เดิมทีเดียวตึกแห่งนี้ เป็นหอสมุดแห่งชาติ ซึ่งรัชกาลที่ 5 ได้โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2448 พระราชทานนามว่า "หอสมุดสำหรับพระนคร" ตึกหอสมุดสร้างเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 6 โดยสมเด็จฯ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ปัจจุบันตั้งเป็นศูนย์นราธิปฯ เพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์
สนามหลวง หรือ ทุ่งพระเมรุ
เป็นลานโล่งอยู่ใกล้กับกำแพงพระราชวังหลวง และติดกับกำแพงวังหน้าด้านทิศตะวันออก เมื่อแรกสร้างกรุงเทพฯ บริเวณนี้ เป็นที่ทำนาของประชาชน และยังใช้เป็นที่ตั้งพระเมรุเผาศพของเจ้านาย จึงเรียกกันติดปากกันว่า “ทุ่งพระเมรุ” พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริว่านามนี้ไม่เป็นมงคล จึงโปรดเกล้าฯ ให้เรียกใหม่ว่า “ท้องสนามหลวง” และยกเลิกการทำนาในบริเวณนี้ สืบมาจนในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้รื้อกำแพงป้อมปราการของวังหน้าด้านทิศตะวันออกลง และขยายพื้นที่สนามหลวงให้กว้างดังเช่น ปัจจุบัน สนามหลวงมีเนื้อที่ 78 ไร่ ใช้เป็นที่ประกอบพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระเจ้าแผ่นดิน พระราชวงศ์ และเจ้านายชั้นสูง รวมทั้งเป็นที่ประกอบพระราชพิธีการกีฬา ทั้งยังทรงโปรดเกล้าฯ ให้ปลูกต้นมะขามไว้โดยรอบ สนามหลวง จำนวน 365 ต้นอีกด้วย
ศาลหลักเมือง
ตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงกับวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อจะสร้างบ้านเมืองต้องมีการฝังเสาหลักเมือง ซึ่งเป็นประเพณีเก่าแก่ ของชาติไทย รัชกาลที่ 1 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีฝังเสาหลักเมืองกรุงเทพฯ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 บรรจุดวงชะตาของกรุงเทพฯ ไว้ภายใน เสาหลักเมืองเดิมทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ เส้นผ่าศูนย์กลาง 75 เซนติเมตร สูง 27 เซนติเมตร แต่สร้างใหม่ใน รัชกาลที่ 4 แทนของเดิมที่ชำรุด เป็นไม้ชัยพฤกษ์สูง 108 นิ้ว ฐานเป็นแท่นกว้าง 70 นิ้ว ตั้งอยู่ภายในอาคารยอดปรางค์ อย่างที่เห็นในปัจจุบัน ภายในศาลหลักเมืองยังมีเทวรูปสำคัญ คือ เทพารักษ์ เจ้าพ่อหอกลอง พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง เจ้าพ่อเจตคุปต์ และพระกาฬไชยศรี
หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
สร้างขึ้นตามพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ตั้งอยู่บริเวณที่ทำการของธนาคารกรุงเทพ สาขาสะพานผ่านฟ้า และศูนย์สังคีตศิลป์เดิม ปรับปรุงใหม่เป็นหอศิลป์ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2545 สำหรับใช้เป็นที่ จัดการแสดงของศิลปินไทยโดยเฉพาะ ศิลปินรุ่นใหม่ที่มีผลงานดีเด่น แต่ยังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย ตลอดจนศิลปินอาวุโส ที่ได้รับการยกย่อง และได้รับพระราชทาน พระราชานุญาตให้อัญเชิญพระนามาภิไธย เป็นมงคลนามว่า หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
สวนสราญรมย์
เดิมเป็นที่ประทับของพระบรมวงศานุวงศ์และเป็น สถานที่รับรองพระราชอาคันตุกะจากต่างประเทศในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นที่จัดงานฤดูหนาวตลอดรัชสมัยของ รัชกาลที่ 6 และเป็นที่ตั้งของสมาคม “สโมสรคณะราษฎร” ในสมัยรัชกาลที่ 7 ต่อมาได้มอบให้เทศบาลกรุงเทพฯ เพื่อปรับปรุงให้เป็นสวนรุกชาติและสวนสาธารณะ
สวนรมณีนาถ
ในอดีตบริเวณนี้เคยเป็นสถานที่คุมขังและอบรมผู้ต้องขัง จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2535 กรมราชทัณฑ์ได้ทำการย้ายเรือนจำ ออกไป แล้วจัดสร้างสวนแห่งนี้ขึ้น เพื่อเป็นการเฉลิม พระเกียรติเนื่องในวโรกาสสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถทรงเจริญพระชนม์พรรษาครบ 5 รอบ
ตลาดน้ำตลิ่งชัน
อยู่บริเวณหน้าสำนักงานเขตตลิ่งชัน เป็นตลาดกึ่งชนบท ผสมผสานระหว่างชีวิตริมน้ำกับธรรมชาติ มีเฉพาะวันเสาร์ - อาทิตย์ พ่อค้าแม่ค้าซึ่งก็คือ ชาวสวนในพื้นที่จะเริ่มนำผลผลิตจากสวน ซึ่งมีทั้งพันธุ์ไม้ ผักสด ผลไม้ ปลา และอาหารต่าง ๆ มาจำหน่ายเหมือน ตลาดสดทั่วไปแต่ผลผลิตจะเปลี่ยนไปตามฤดูกาล นอกจากนี้ ยังมีร้านอาหารบนแพริมน้ำ ซึ่งจะได้เห็นชีวิตความเป็นอยู่ริมน้ำของชาว ตลิ่งชัน
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
จัดตั้งขึ้นเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 3 รอบ เพื่อเป็นที่รวบรวมข้อมูลทางด้านมานุษยวิทยาและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เป็นแหล่งค้นคว้าศึกษา และให้ บริการข้อมูลทางด้านมานุษยวิทยาแก่นักวิชาการ นักศึกษา และผู้ที่ สนใจ
บ้านพิพิธภัณฑ์
ตั้งอยู่เลขที่หมู่บ้านคลองโพแลนด์ ซอยคลองโพ 2 ถนนศาลาธรรมสพน์ เป็นสถานที่จัด แสดงข้าวของของชาวเมืองชาวบ้าน ทั้งของเก่าและของใหม่ หลากหลายประเภท เช่น ของเล่น หนังสือ เครื่องเขียน เครื่องครัว และของใช้ในชีวิต ประจำวันต่าง ๆ จึงเปรียบเสมือนคลังมรดกถ่ายทอดอดีตสู่ปัจจุบัน
ถนนอุทยาน (ถนนอักษะ)
เป็นเส้นทางเชื่อมระหว่างถนนพุทธมณฑลสาย3 และสาย4 ตรงไปสู่พุทธมลฑล จังหวัดนครปฐม มีอีกชื่อหนึ่งว่า ถนนอักษะ ได้รับการยกย่องว่าเป็นถนนที่ตกแต่งได้ สวยงามที่สุดในประเทศไทย โดยมีไม้ดอกไม้ประดับและต้นไม้ใหญ่ตลอดสอง ข้างทาง ริมถนนติดตั้งเสาไฟเป็น รูปหงส์ 979 ต้น เปิดใช้เป็นทางการในปี พ.ศ.2542
ศูนย์ประติมากรรมกรุงเทพ
ตั้งอยู่เลขที่ถนนนวลจันทร์ ดำเนินการก่อตั้งโดยเอกชน เป็นสถานที่สะสมงานศิลปะประติมากรรมไทย รวมทั้งส่งเสริม ด้านวิชาการ และเผยแพร่ผลงานด้านประติมากรรมไทย ต่อสาธารณชน ภายในศูนย์มีการแสดงประติมากรรมสมัยใหม่ ของประติมากรชั้นครู อาทิ เขียน ยิ้มศิริ อินสนธิ์ วงค์สาม ชำเรือง วิเชียรเขตต์ และผลงานของศิลปินที่มีชื่อเสียงอีกหลายท่าน
สวนเสรีไทย
สร้างขึ้นตามโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยการพัฒนาบึงกุ่มให้เป็นพื้นที่เก็บกักน้ำเพื่อแก้ ปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ และเพื่อเป็นที่ระลึกของขบวนการเสรีไทยในสมัย สงครามโลกครั้งที่ 2 สวนแห่งนี้นับว่าเป็น โรงเรียนต้นไม้กลางแจ้งที่มีพรรณไม้หลากหลายชนิดให้กับผู้ที่สนใจได้ศึกษา มีทั้งสวนป่า ลานดอกไม้หอม สวนไม้ผล และปาล์มพันธุ์ต่างๆ
สถานแสดงพันธุ์ปลาน้ำจืด
อยู่ที่บริเวณกรมประมง ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตั้งขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและแคนาดาตั้งแต่ พ.ศ.2521 ภายในเป็นการจัดแสดงเกี่ยวกับพันธุ์ปลาน้ำจืด ของไทย ปลาสวยงาม ปลาเศรษฐกิจ ปลาที่ใกล้จะสูญพันธุ์ พรรณไม้น้ำจืดของไทย รวมทั้งศึกษาและวิจัยด้านทางด้าน วิชาการ
ศูนย์สปัน อารยวัฒนศิลป์
ตั้งอยู่ที่ถนนวิภาวดีรังสิต เป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงวิวัฒนาการ เครื่องแต่งกาย ของไทยและนานาชาติ และผลงานด้านศิลป หัตถกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การแต่งกายของชาวไทยในอดีต จัดแสดงชุดแต่งงานของผู้ที่มีชื่อเสียงในอดีต ภาพนางงามตั้งแต่ อดีตจนถึงปัจจุบัน ภาพมงกุฏกษัตริย์ทั่วโลก จัดแสดง วิวัฒนาการการแต่งกายของโลกตั้งแต่อียิปต์ กรีก โรมัน จนถึงปัจจุบัน การปั้นโดยย่อสัดส่วนได้แก่ การประดิษฐ์กระทง เมืองตุ๊กตา และการจัด ดอกไม้ไทย
หอเกียรติภูมิรถไฟ
ตั้งอยู่ด้านเหนือของสวนจตุจักรใกล้บริเวณลานจอดรถ เอนกประสงค์ประตู 2 ถ.กำแพงเพชร 3 เป็นอาคารเก่าของการรถไฟ แห่งประเทศไทย ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อ 30 ปี มาแล้ว เพื่อใช้เป็นที่เก็บขบวนรถไฟพระที่นั่งของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้า อยู่หัว รัชกาลที่ 7 และหัวรถจักรประวัติศาสตร์ บางคัน ต่อมาได้ถูกปิดไประยะหนึ่ง ภายหลังได้รับการปรับปรุงและเปิด เป็นพิพิธภัณฑ์ เมื่อปี พ.ศ. 2533 เป็นสถานที่ รวบรวมและให้ความรู้เกี่ยวกับการรถไฟ มีการจัดแสดงรถจักรไอน้ำ รถจักรจำลอง ขบวนรถไฟเล็กขนาดต่างๆ ภาพถ่าย และภาพวาดเกี่ยวกับเกียรติภูมิของการรถไฟโลกรวมทั้งสิ่งที่น่าสนใจ ต่างๆ อีกมากมาย
อนุสรณ์สถานแห่งชาติ
ตั้งอยู่ริมถนนวิภาวดีรังสิต ภายในอาคารมีการจัดแสดงจิตรกรรมฝาผนัง แสดงเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ ของไทยตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยจนมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ มีการจำลองเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ภาพจำหลักนูนต่ำ แสดง เรื่องการสร้างเมือง และหุ่นจำลองเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์การสงครามของไทย
สวนหลวง ร. 9
เป็นสวนสาธารณะและสวนพฤกษศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ ซึ่งมูลนิธิสวนหลวง ร.9 และพสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่าพร้อมใจกันสร้างเพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อม ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในศุภมงคลสมัยเจริญพระชนมายุครบ 60 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2530 ตั้งอยู่บริเวณ ชานเมืองกรุงเทพฯ ด้านตะวันออกเฉียงใต้ แขวงหนองบอน เขตประเวศ ประกอบด้วย อาคารเทิดพระเกียรติรวมเรื่องราวพระราชกรณียกิจ และเครื่องใช้ ส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สวนพฤกษศาสตร์ สวนรมณีย์ ตระพังแก้วเก็บน้ำ สวนน้ำ อาคารพันธุ์ไม้ทะเลทราย สนามราษฎร์และลานอเนกประสงค์
เสาชิงช้า
ศาสนาพราหมณ์มีความเกี่ยวพันกับชีวิตชาวไทยอยู่มาก เมื่อสร้างกรุงเทพฯ เสร็จแล้วจึงมีการสร้างโบสถ์พราหมณ์ และเสาชิงช้า เดิมตั้งอยู่ริมถนนบำรุงเมือง ทางจะเลี้ยวไป ถนนดินสอ มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2327 และย้ายมาตั้งที่ถนน บำรุงเมืองในปัจจุบัน เมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 ต่อมาในสมัย รัชกาลที่ 6 บริษัท หลุยส์ ที.เลียวโนแวนส์ ซึ่งเป็นบริษัทค้าไม้ ได้อุทิศซุงไม้สักเพื่อสร้างเสาชิงช้าใหม่ เสร็จเรียบร้อย เมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2463 ซ่อมใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2502 มีส่วนสูงทั้งหมด 21.12 เมตร เสาชิงช้านี้ใช้ประกอบ พิธีตรียัมพวาย หรือพิธีโล้ชิงช้าในศาสนาพราหมณ์ ซึ่งจัดให้มี ในเดือนยี่ของทุกๆ ปี และยกเลิกไป เมื่อ พ.ศ. 2478
ศาลเจ้าพ่อเสือ
ลักษณะอาคารสร้างตามรูปแบบศาลเจ้าที่นิยมทาง ภาคใต้ของจีน เทพเจ้าประจำศาล คือ " เสียนเทียนซั่งตี้ " หรือ "เจ้าพ่อเสือ " การสร้างศาลประดิษฐานรูปเสือ โดยเอากระดูกเสือบรรจุในแท่นปั้นรูปประดิษฐานบนแท่น อัญเชิญ ดวงวิญญาณเสือขอให้ปกปักรักษาประชาราษฎร์ ให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจำลอง)
ตั้งอยู่ที่ถนนสุขุมวิท เป็นศูนย์แสดง และเผยแพร่ความรู้ เช่น การจัดนิทรรศการ บรรยายความรู้ สาขาต่างๆ ของวิชาวิทยาศาสตร์ และดาราศาสตร์
สวนเบญจกิติ
สวนเบญจกิติ เป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่ใจกลางเมือง รอบบึงน้ำของโรงงานยาสูบเก่าติดกับศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สร้างขึ้นในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ ภายในสวนมีทัศนียภาพ ที่สวยงามของบึงน้ำใหญ่ซึ่งมีฉากหลัง เป็นหมู่ตึกสูงของกรุงเทพฯ มีลานน้ำพุ ลานสุขภาพ ที่มีอุปกรณ์การออกกำลังกายหลายชนิด มีป้ายบอกวิธีการใช้ มีทางเดิน ทางวิ่ง ทางจักรยาน รอบบึงน้ำยาวกว่า 2 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังพระพุทธรูปประจำสวนคือ พระพุทธวิสุทธิมงคล และ ประติมากรรมต่าง ๆ
บ้านคำเที่ยง
ตั้งอยู่ถนนสุขุมวิท ซอย 21 เป็นบ้านโบราณสร้างขึ้น ในจังหวัดเชียงใหม่ มีอายุมากกว่า 150 ปี ต่อมาได้บริจาค ให้อยู่ในความดูแลของสยามสมาคม ซึ่งได้นำมาประกอบใหม่ ที่กรุงเทพฯ ภายในบริเวณบ้านจัดแสดงสิ่งของเครื่องใช้ ประจำวันต่าง ๆ ของบ้านเมืองเหนือ
นาฏยศาลา หุ่นละครเล็ก (โจหลุยส์เธียเตอร์)
นาฎยศาลา หรือ โจหลุยส์เธียร์เตอร์ ตั้งอยู่ที่ สวนลุมไนท์บาร์ซาร์ ถนนพระราม แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน โรงละครเชิดหุ่น ละครเล็ก เกิดขึ้นจากปณิธาน ความตั้งใจของ โจ หลุยส์ หรือ ครูสาคร ยังเขียวสด ศิลปินแห่งชาติปี พ.ศ. 2539 ซึ่งต้องการ รักษาศิลปะ การแสดงหุ่นละครเล็กมิให้หายไปตามกาลเวลา การเชิดหุ่นละครเล็กผู้เชิดจำเป็นต้องมีพื้นฐานทางด้านการ แสดงโขนมาดัวย เนื่องจากในระหว่างที่เชิดหุ่น ผู้เชิดต้องร่ายรำตามไปด้วยและในขณะเดียวกันหุ่น 1 ตัว ต้องใช้ผู้เชิดถึง 3 คน ทำให้หุ่นเคลื่อนไหวเหมือนมีชีวิต เรื่องราวที่นำมาแสดงเป็นเรื่องรามเกียรติ์ ปัจจุบันมีคณะสาครนาฏศิลป์เหลืออยู่ เพียงคณะเดียวในประเทศไทยที่สืบสานศิลปะแขนงนี้ให้อนุชนรุ่นหลังต่อไป ได้รับรางวัลดีเด่นอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ประเภทแหล่งท่องเที่ยวเพื่อนันทนาการของการท่องเที่ยวแห่ง ประเทศไทย ประจำปี 2543
ทีเค พาร์ค อุทยานการเรียนรู้
ตั้งอยู่ในเซ็นทรัลเวิลด์พลาซ่า ชั้น 6 เป็นแหล่งความรู้ ในรูปแบบที่ ทันสมัย และสนุกสนาน เพื่อเสริมความคิด สร้างสรรค์และจินตนาการของเยาวชน ประกอบด้วย ห้องสมุดมีชีวิต รวบรวมหนังสือประเภทต่าง ๆ ที่เยาวชนสนใจ บริการอินเตอร์เน็ต ในบรรยากาศที่ผ่อนคลาย ทันสมัย ลานสานฝัน พื้นที่สำหรับผู้ที่ชอบแสดงออก ทำกิจกรรมเสวนา และเวิร์คช็อป มินิเธียเตอร์ นำเสนอเทคนิคภาพยนตร์เสมือนจริง (Virtual Reality) แห่งแรกในประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีมุมเครื่องดื่มและร้านขายของประดิษฐ์ จากฝีมือเยาวชน