วันศุกร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2552

สถานที่สำคัญกรุงเทพมหานคร


ศาลท้าวมหาพรหม
ตั้งอยู่หน้าโรงแรมเอราวัณ เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ซึ่งประชาชน ทั้งชาวไทยและต่างประเทศให้การเคารพนับถือมาก แต่ละวันจะ มีผู้คนมาสักการะบูชากันอย่างไม่ขาดสาย ได้มีการ อัญเชิญองค์ท้าวมหาพรหมซึ่งปั้นโดยช่างกองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร มาประดิษฐานที่หน้าโรงแรมเอราวัณเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญด้านโหราศาสตร์ได้ท้วงติง ว่าฤกษ์ในการวางศิลาฤกษ์ของโรงแรมทำไว้ไม่ถูกต้อง ต้องแก้ไขด้วยการสร้างศาลท้าวมหาพรหมและศาลพระภูมิไว้ใน บริเวณโรงแรม
สวนงูสภากาชาดไทย
ตั้งอยู่ที่สถานเสาวภา สภากาชาดไทย เป็นแหล่งเลี้ยงงูพิษต่าง ๆเพื่อนำเอาพิษงูมาทำเซรุ่มฉีดรักษาผู้ถูก งูกัด มีการฉายสไลด์ ประกอบคำบรรยายและแสดงรีดพิษงู
บ้าน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์
ตั้งอยู่เลขที่ 19 ซอยพระพินิจ ถนนสาทรใต้ เป็นหมู่เรือนไทยที่เป็นที่อยู่อาศัยประกอบด้วยเรือนไม้สักขนาดต่างๆ กัน 5 หลัง หอนก และหอพระ มีนอกชานเชื่อมถึงกันตลอด ชั้นล่างเป็นใต้ถุนโล่ง มีศาลาไทยหลังใหญ่หน้าบ้านแยกไปจากกลุ่ม เรือนที่เป็นที่อยู่อาศัยเพื่อใช้ประกอบกิจกรรมต่างๆ บ้าน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์
บ้านตุ๊กตาบางกอกดอลล์ และตุ๊กตานานาชาติ
ตั้งอยู่ซอยหมอเหล็ง ถนนราชปรารภ ก่อตั้งโดยคุณหญิงทองก้อน จันทวิมล เมื่อปี พ.ศ. 2499 หลังจากกลับจากเรียนประดิษฐ์ตุ๊กตาจากโรงเรียนโอซาวาดอลล์ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เพื่อประดิษฐ์ตุ๊กตาของ ไทยออกเผยแพร่ ตุ๊กตาของที่นี่เป็นที่รู้จักกันดีของนานาชาติตลอดจนนักสะสมตุ๊กตาทั้งหลาย เนื่องมาจากความสวยงาม ของตุ๊กตาที่ประดิษฐ์ออกมามีความเป็นเอกลักษณ์แบบไทย และเคยได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดตุ๊กตา พื้นเมืองนานา ชาติครั้งที่ 3 ประจำปี พ.ศ. 2521 ที่ประเทศโปแลนด์
สวนสันติภาพ
ตั้งอยู่ใกล้กับอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ ระลึกถึงวันสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ภายในสวนตกแต่งเป็นลักษณะ สวนป่าธรรมชาติ โดยปลูกไม้ยืนต้นเป็นส่วนใหญ่ ตรงกลางสวนมีสระน้ำ 3 สระล้อมรอบด้วยทางเท้า มีถนนสำหรับวิ่ง ออกกำลังกาย และยังเป็นสถานที่พักผ่อนสำหรับ ประชาชนทั่วไป
พระที่นั่งและสวนสาธารณะสันติชัยปราการ
ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณถนนพระอาทิตย์ รัฐบาลและประชาชนได้ดำเนินการจัดสร้างขึ้นเนื่องในโอกาสพระราชพิธี มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542 ด้านหน้าสวนมีป้อมพระสุเมรุ ซึ่งเป็นป้อมที่สร้างตามแนว กำแพงพระนครชั้นนอกตั้งแต่สมัย รัชกาลที่ 1
ตึกถาวรวัตถุ
อยู่ใกล้สนามหลวงติดกับวัดมหาธาตุ เดิมทีเดียวตึกแห่งนี้ เป็นหอสมุดแห่งชาติ ซึ่งรัชกาลที่ 5 ได้โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2448 พระราชทานนามว่า "หอสมุดสำหรับพระนคร" ตึกหอสมุดสร้างเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 6 โดยสมเด็จฯ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ปัจจุบันตั้งเป็นศูนย์นราธิปฯ เพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์
สนามหลวง หรือ ทุ่งพระเมรุ
เป็นลานโล่งอยู่ใกล้กับกำแพงพระราชวังหลวง และติดกับกำแพงวังหน้าด้านทิศตะวันออก เมื่อแรกสร้างกรุงเทพฯ บริเวณนี้ เป็นที่ทำนาของประชาชน และยังใช้เป็นที่ตั้งพระเมรุเผาศพของเจ้านาย จึงเรียกกันติดปากกันว่า “ทุ่งพระเมรุ” พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริว่านามนี้ไม่เป็นมงคล จึงโปรดเกล้าฯ ให้เรียกใหม่ว่า “ท้องสนามหลวง” และยกเลิกการทำนาในบริเวณนี้ สืบมาจนในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้รื้อกำแพงป้อมปราการของวังหน้าด้านทิศตะวันออกลง และขยายพื้นที่สนามหลวงให้กว้างดังเช่น ปัจจุบัน สนามหลวงมีเนื้อที่ 78 ไร่ ใช้เป็นที่ประกอบพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระเจ้าแผ่นดิน พระราชวงศ์ และเจ้านายชั้นสูง รวมทั้งเป็นที่ประกอบพระราชพิธีการกีฬา ทั้งยังทรงโปรดเกล้าฯ ให้ปลูกต้นมะขามไว้โดยรอบ สนามหลวง จำนวน 365 ต้นอีกด้วย
ศาลหลักเมือง
ตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงกับวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อจะสร้างบ้านเมืองต้องมีการฝังเสาหลักเมือง ซึ่งเป็นประเพณีเก่าแก่ ของชาติไทย รัชกาลที่ 1 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีฝังเสาหลักเมืองกรุงเทพฯ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 บรรจุดวงชะตาของกรุงเทพฯ ไว้ภายใน เสาหลักเมืองเดิมทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ เส้นผ่าศูนย์กลาง 75 เซนติเมตร สูง 27 เซนติเมตร แต่สร้างใหม่ใน รัชกาลที่ 4 แทนของเดิมที่ชำรุด เป็นไม้ชัยพฤกษ์สูง 108 นิ้ว ฐานเป็นแท่นกว้าง 70 นิ้ว ตั้งอยู่ภายในอาคารยอดปรางค์ อย่างที่เห็นในปัจจุบัน ภายในศาลหลักเมืองยังมีเทวรูปสำคัญ คือ เทพารักษ์ เจ้าพ่อหอกลอง พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง เจ้าพ่อเจตคุปต์ และพระกาฬไชยศรี
หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
สร้างขึ้นตามพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ตั้งอยู่บริเวณที่ทำการของธนาคารกรุงเทพ สาขาสะพานผ่านฟ้า และศูนย์สังคีตศิลป์เดิม ปรับปรุงใหม่เป็นหอศิลป์ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2545 สำหรับใช้เป็นที่ จัดการแสดงของศิลปินไทยโดยเฉพาะ ศิลปินรุ่นใหม่ที่มีผลงานดีเด่น แต่ยังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย ตลอดจนศิลปินอาวุโส ที่ได้รับการยกย่อง และได้รับพระราชทาน พระราชานุญาตให้อัญเชิญพระนามาภิไธย เป็นมงคลนามว่า หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
สวนสราญรมย์
เดิมเป็นที่ประทับของพระบรมวงศานุวงศ์และเป็น สถานที่รับรองพระราชอาคันตุกะจากต่างประเทศในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นที่จัดงานฤดูหนาวตลอดรัชสมัยของ รัชกาลที่ 6 และเป็นที่ตั้งของสมาคม “สโมสรคณะราษฎร” ในสมัยรัชกาลที่ 7 ต่อมาได้มอบให้เทศบาลกรุงเทพฯ เพื่อปรับปรุงให้เป็นสวนรุกชาติและสวนสาธารณะ
สวนรมณีนาถ
ในอดีตบริเวณนี้เคยเป็นสถานที่คุมขังและอบรมผู้ต้องขัง จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2535 กรมราชทัณฑ์ได้ทำการย้ายเรือนจำ ออกไป แล้วจัดสร้างสวนแห่งนี้ขึ้น เพื่อเป็นการเฉลิม พระเกียรติเนื่องในวโรกาสสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถทรงเจริญพระชนม์พรรษาครบ 5 รอบ
ตลาดน้ำตลิ่งชัน
อยู่บริเวณหน้าสำนักงานเขตตลิ่งชัน เป็นตลาดกึ่งชนบท ผสมผสานระหว่างชีวิตริมน้ำกับธรรมชาติ มีเฉพาะวันเสาร์ - อาทิตย์ พ่อค้าแม่ค้าซึ่งก็คือ ชาวสวนในพื้นที่จะเริ่มนำผลผลิตจากสวน ซึ่งมีทั้งพันธุ์ไม้ ผักสด ผลไม้ ปลา และอาหารต่าง ๆ มาจำหน่ายเหมือน ตลาดสดทั่วไปแต่ผลผลิตจะเปลี่ยนไปตามฤดูกาล นอกจากนี้ ยังมีร้านอาหารบนแพริมน้ำ ซึ่งจะได้เห็นชีวิตความเป็นอยู่ริมน้ำของชาว ตลิ่งชัน
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
จัดตั้งขึ้นเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 3 รอบ เพื่อเป็นที่รวบรวมข้อมูลทางด้านมานุษยวิทยาและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เป็นแหล่งค้นคว้าศึกษา และให้ บริการข้อมูลทางด้านมานุษยวิทยาแก่นักวิชาการ นักศึกษา และผู้ที่ สนใจ
บ้านพิพิธภัณฑ์
ตั้งอยู่เลขที่หมู่บ้านคลองโพแลนด์ ซอยคลองโพ 2 ถนนศาลาธรรมสพน์ เป็นสถานที่จัด แสดงข้าวของของชาวเมืองชาวบ้าน ทั้งของเก่าและของใหม่ หลากหลายประเภท เช่น ของเล่น หนังสือ เครื่องเขียน เครื่องครัว และของใช้ในชีวิต ประจำวันต่าง ๆ จึงเปรียบเสมือนคลังมรดกถ่ายทอดอดีตสู่ปัจจุบัน
ถนนอุทยาน (ถนนอักษะ)
เป็นเส้นทางเชื่อมระหว่างถนนพุทธมณฑลสาย3 และสาย4 ตรงไปสู่พุทธมลฑล จังหวัดนครปฐม มีอีกชื่อหนึ่งว่า ถนนอักษะ ได้รับการยกย่องว่าเป็นถนนที่ตกแต่งได้ สวยงามที่สุดในประเทศไทย โดยมีไม้ดอกไม้ประดับและต้นไม้ใหญ่ตลอดสอง ข้างทาง ริมถนนติดตั้งเสาไฟเป็น รูปหงส์ 979 ต้น เปิดใช้เป็นทางการในปี พ.ศ.2542
ศูนย์ประติมากรรมกรุงเทพ
ตั้งอยู่เลขที่ถนนนวลจันทร์ ดำเนินการก่อตั้งโดยเอกชน เป็นสถานที่สะสมงานศิลปะประติมากรรมไทย รวมทั้งส่งเสริม ด้านวิชาการ และเผยแพร่ผลงานด้านประติมากรรมไทย ต่อสาธารณชน ภายในศูนย์มีการแสดงประติมากรรมสมัยใหม่ ของประติมากรชั้นครู อาทิ เขียน ยิ้มศิริ อินสนธิ์ วงค์สาม ชำเรือง วิเชียรเขตต์ และผลงานของศิลปินที่มีชื่อเสียงอีกหลายท่าน
สวนเสรีไทย
สร้างขึ้นตามโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยการพัฒนาบึงกุ่มให้เป็นพื้นที่เก็บกักน้ำเพื่อแก้ ปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ และเพื่อเป็นที่ระลึกของขบวนการเสรีไทยในสมัย สงครามโลกครั้งที่ 2 สวนแห่งนี้นับว่าเป็น โรงเรียนต้นไม้กลางแจ้งที่มีพรรณไม้หลากหลายชนิดให้กับผู้ที่สนใจได้ศึกษา มีทั้งสวนป่า ลานดอกไม้หอม สวนไม้ผล และปาล์มพันธุ์ต่างๆ
สถานแสดงพันธุ์ปลาน้ำจืด
อยู่ที่บริเวณกรมประมง ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตั้งขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและแคนาดาตั้งแต่ พ.ศ.2521 ภายในเป็นการจัดแสดงเกี่ยวกับพันธุ์ปลาน้ำจืด ของไทย ปลาสวยงาม ปลาเศรษฐกิจ ปลาที่ใกล้จะสูญพันธุ์ พรรณไม้น้ำจืดของไทย รวมทั้งศึกษาและวิจัยด้านทางด้าน วิชาการ
ศูนย์สปัน อารยวัฒนศิลป์
ตั้งอยู่ที่ถนนวิภาวดีรังสิต เป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงวิวัฒนาการ เครื่องแต่งกาย ของไทยและนานาชาติ และผลงานด้านศิลป หัตถกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การแต่งกายของชาวไทยในอดีต จัดแสดงชุดแต่งงานของผู้ที่มีชื่อเสียงในอดีต ภาพนางงามตั้งแต่ อดีตจนถึงปัจจุบัน ภาพมงกุฏกษัตริย์ทั่วโลก จัดแสดง วิวัฒนาการการแต่งกายของโลกตั้งแต่อียิปต์ กรีก โรมัน จนถึงปัจจุบัน การปั้นโดยย่อสัดส่วนได้แก่ การประดิษฐ์กระทง เมืองตุ๊กตา และการจัด ดอกไม้ไทย
หอเกียรติภูมิรถไฟ
ตั้งอยู่ด้านเหนือของสวนจตุจักรใกล้บริเวณลานจอดรถ เอนกประสงค์ประตู 2 ถ.กำแพงเพชร 3 เป็นอาคารเก่าของการรถไฟ แห่งประเทศไทย ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อ 30 ปี มาแล้ว เพื่อใช้เป็นที่เก็บขบวนรถไฟพระที่นั่งของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้า อยู่หัว รัชกาลที่ 7 และหัวรถจักรประวัติศาสตร์ บางคัน ต่อมาได้ถูกปิดไประยะหนึ่ง ภายหลังได้รับการปรับปรุงและเปิด เป็นพิพิธภัณฑ์ เมื่อปี พ.ศ. 2533 เป็นสถานที่ รวบรวมและให้ความรู้เกี่ยวกับการรถไฟ มีการจัดแสดงรถจักรไอน้ำ รถจักรจำลอง ขบวนรถไฟเล็กขนาดต่างๆ ภาพถ่าย และภาพวาดเกี่ยวกับเกียรติภูมิของการรถไฟโลกรวมทั้งสิ่งที่น่าสนใจ ต่างๆ อีกมากมาย
อนุสรณ์สถานแห่งชาติ
ตั้งอยู่ริมถนนวิภาวดีรังสิต ภายในอาคารมีการจัดแสดงจิตรกรรมฝาผนัง แสดงเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ ของไทยตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยจนมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ มีการจำลองเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ภาพจำหลักนูนต่ำ แสดง เรื่องการสร้างเมือง และหุ่นจำลองเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์การสงครามของไทย
สวนหลวง ร. 9
เป็นสวนสาธารณะและสวนพฤกษศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ ซึ่งมูลนิธิสวนหลวง ร.9 และพสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่าพร้อมใจกันสร้างเพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อม ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในศุภมงคลสมัยเจริญพระชนมายุครบ 60 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2530 ตั้งอยู่บริเวณ ชานเมืองกรุงเทพฯ ด้านตะวันออกเฉียงใต้ แขวงหนองบอน เขตประเวศ ประกอบด้วย อาคารเทิดพระเกียรติรวมเรื่องราวพระราชกรณียกิจ และเครื่องใช้ ส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สวนพฤกษศาสตร์ สวนรมณีย์ ตระพังแก้วเก็บน้ำ สวนน้ำ อาคารพันธุ์ไม้ทะเลทราย สนามราษฎร์และลานอเนกประสงค์
เสาชิงช้า
ศาสนาพราหมณ์มีความเกี่ยวพันกับชีวิตชาวไทยอยู่มาก เมื่อสร้างกรุงเทพฯ เสร็จแล้วจึงมีการสร้างโบสถ์พราหมณ์ และเสาชิงช้า เดิมตั้งอยู่ริมถนนบำรุงเมือง ทางจะเลี้ยวไป ถนนดินสอ มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2327 และย้ายมาตั้งที่ถนน บำรุงเมืองในปัจจุบัน เมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 ต่อมาในสมัย รัชกาลที่ 6 บริษัท หลุยส์ ที.เลียวโนแวนส์ ซึ่งเป็นบริษัทค้าไม้ ได้อุทิศซุงไม้สักเพื่อสร้างเสาชิงช้าใหม่ เสร็จเรียบร้อย เมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2463 ซ่อมใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2502 มีส่วนสูงทั้งหมด 21.12 เมตร เสาชิงช้านี้ใช้ประกอบ พิธีตรียัมพวาย หรือพิธีโล้ชิงช้าในศาสนาพราหมณ์ ซึ่งจัดให้มี ในเดือนยี่ของทุกๆ ปี และยกเลิกไป เมื่อ พ.ศ. 2478
ศาลเจ้าพ่อเสือ
ลักษณะอาคารสร้างตามรูปแบบศาลเจ้าที่นิยมทาง ภาคใต้ของจีน เทพเจ้าประจำศาล คือ " เสียนเทียนซั่งตี้ " หรือ "เจ้าพ่อเสือ " การสร้างศาลประดิษฐานรูปเสือ โดยเอากระดูกเสือบรรจุในแท่นปั้นรูปประดิษฐานบนแท่น อัญเชิญ ดวงวิญญาณเสือขอให้ปกปักรักษาประชาราษฎร์ ให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจำลอง)
ตั้งอยู่ที่ถนนสุขุมวิท เป็นศูนย์แสดง และเผยแพร่ความรู้ เช่น การจัดนิทรรศการ บรรยายความรู้ สาขาต่างๆ ของวิชาวิทยาศาสตร์ และดาราศาสตร์
สวนเบญจกิติ
สวนเบญจกิติ เป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่ใจกลางเมือง รอบบึงน้ำของโรงงานยาสูบเก่าติดกับศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สร้างขึ้นในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ ภายในสวนมีทัศนียภาพ ที่สวยงามของบึงน้ำใหญ่ซึ่งมีฉากหลัง เป็นหมู่ตึกสูงของกรุงเทพฯ มีลานน้ำพุ ลานสุขภาพ ที่มีอุปกรณ์การออกกำลังกายหลายชนิด มีป้ายบอกวิธีการใช้ มีทางเดิน ทางวิ่ง ทางจักรยาน รอบบึงน้ำยาวกว่า 2 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังพระพุทธรูปประจำสวนคือ พระพุทธวิสุทธิมงคล และ ประติมากรรมต่าง ๆ
บ้านคำเที่ยง
ตั้งอยู่ถนนสุขุมวิท ซอย 21 เป็นบ้านโบราณสร้างขึ้น ในจังหวัดเชียงใหม่ มีอายุมากกว่า 150 ปี ต่อมาได้บริจาค ให้อยู่ในความดูแลของสยามสมาคม ซึ่งได้นำมาประกอบใหม่ ที่กรุงเทพฯ ภายในบริเวณบ้านจัดแสดงสิ่งของเครื่องใช้ ประจำวันต่าง ๆ ของบ้านเมืองเหนือ
นาฏยศาลา หุ่นละครเล็ก (โจหลุยส์เธียเตอร์)
นาฎยศาลา หรือ โจหลุยส์เธียร์เตอร์ ตั้งอยู่ที่ สวนลุมไนท์บาร์ซาร์ ถนนพระราม แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน โรงละครเชิดหุ่น ละครเล็ก เกิดขึ้นจากปณิธาน ความตั้งใจของ โจ หลุยส์ หรือ ครูสาคร ยังเขียวสด ศิลปินแห่งชาติปี พ.ศ. 2539 ซึ่งต้องการ รักษาศิลปะ การแสดงหุ่นละครเล็กมิให้หายไปตามกาลเวลา การเชิดหุ่นละครเล็กผู้เชิดจำเป็นต้องมีพื้นฐานทางด้านการ แสดงโขนมาดัวย เนื่องจากในระหว่างที่เชิดหุ่น ผู้เชิดต้องร่ายรำตามไปด้วยและในขณะเดียวกันหุ่น 1 ตัว ต้องใช้ผู้เชิดถึง 3 คน ทำให้หุ่นเคลื่อนไหวเหมือนมีชีวิต เรื่องราวที่นำมาแสดงเป็นเรื่องรามเกียรติ์ ปัจจุบันมีคณะสาครนาฏศิลป์เหลืออยู่ เพียงคณะเดียวในประเทศไทยที่สืบสานศิลปะแขนงนี้ให้อนุชนรุ่นหลังต่อไป ได้รับรางวัลดีเด่นอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ประเภทแหล่งท่องเที่ยวเพื่อนันทนาการของการท่องเที่ยวแห่ง ประเทศไทย ประจำปี 2543
ทีเค พาร์ค อุทยานการเรียนรู้
ตั้งอยู่ในเซ็นทรัลเวิลด์พลาซ่า ชั้น 6 เป็นแหล่งความรู้ ในรูปแบบที่ ทันสมัย และสนุกสนาน เพื่อเสริมความคิด สร้างสรรค์และจินตนาการของเยาวชน ประกอบด้วย ห้องสมุดมีชีวิต รวบรวมหนังสือประเภทต่าง ๆ ที่เยาวชนสนใจ บริการอินเตอร์เน็ต ในบรรยากาศที่ผ่อนคลาย ทันสมัย ลานสานฝัน พื้นที่สำหรับผู้ที่ชอบแสดงออก ทำกิจกรรมเสวนา และเวิร์คช็อป มินิเธียเตอร์ นำเสนอเทคนิคภาพยนตร์เสมือนจริง (Virtual Reality) แห่งแรกในประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีมุมเครื่องดื่มและร้านขายของประดิษฐ์ จากฝีมือเยาวชน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น