วันเสาร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2552

ระบบการปกครองและกฏหมาย

การเมืองไทย

ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์ เป็นประมุขของประเทศ มีนายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล

ประเทศไทย มีการจัดระเบียบการปกครอง ภายในประเทศอย่างเป็นระบบ มาช้านานแล้ว ซึ่งยังผลให้ประเทศไทยมีความเป็นปึกแผ่น และสามารถรักษาเอกราช มาได้จนถึงทุกวันนี้

การปกครองของไทย ได้ปรับและเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม กับกาลสมัย และ เป็นไปตามความต้องการ ของประเทศชาติเสมอมา ทำให้วิธีดำเนินการปกครอง แต่ละสมัยแตกต่างกันไป

สมัยสุโขทัย (พ.ศ.1781-1981) การปกครองเป็นแบบพ่อปกครองลูก ผู้ปกครองคือพระมหากษัตริย์ คำนำหน้าของพระมหากษัตริย์ไทยในสมัยนั้นจึงใช้ว่า "พ่อขุน"

สมัยอยุธยา (พ.ศ.1893-2310) เริ่มต้นเมื่อพระเจ้าอู่ทองทรงตั้งกรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นราชธานีเมื่อราวปี พ.ศ.1893 คำที่ใช้เรียกพระเจ้าอู่ทองมิได้เรียก "พ่อขุน" อย่างที่เรียกกันมาครั้งสุโขทัย แต่เรียกว่า"สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว" พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะเทวราช หรือสมมติเทพ เป็นองค์รัฐาธิปัตย์ปกครองแผ่นดิน

สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ.2325-2475) ได้นำเอาแบบอย่าง การปกครองในสมัยสุโขทัย และอยุธยามาผสมกัน ฐานะของพระมหากษัตริย์เปลี่ยนแปลงไป ไม่ได้อยู่ในฐานะเทวราช หรือสมมติเทพดังแต่ก่อน ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์ กับราษฎร มีความใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น ถึงแม้จะปกครอง ตามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่มีลักษณะประชาธิปไตยแฝงอยู่ ในหลายรูปแบบ เช่น แทรกอยู่ในการปกครอง พระมหากษัตริย์ทรงให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนในการดำรงชีวิต

การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สิ้นสุดลงเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 โดยคณะราษฎร์ การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ นับเป็นจุดเริ่มต้น ของการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย็เป็นประมุข มีศูนย์อำนาจการปกครองอยู่ที่ 3 สถาบันสำคัญคือ สถาบันนิติบัญญัติ ซึ่งมีรัฐสภาเป็นผู้ใช้อำนาจในการออกกฎหมาย สถาบันบริหารซึ่งมี คณะรัฐมนตรี เป็นผู้ใช้อำนาจบริหาร และสถาบันตุลาการ ซึ่งมีศาลสถิตยุติธรรม เป็นผู้ใช้อำนาจหน้าที่พิพากษาอรรถคดีในพระปรมาภิไธย

การแบ่งเขตการปกครองของไทย

การปกครองของประเทศไทยแบ่งเขตการปกครองเป็นส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น นอกจากนี้ยังมี เขตปกครองพิเศษ 2 เขต คือ "กรุงเทพมหานคร" กับ "เมืองพัทยา" ซึ่งทั้งสองเขตการปกครองนี้มีพระราชบัญญัติแยกต่างหากจากพระราชบัญญัติการปกครองส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น

เขตการปกครองส่วนกลางประกอบด้วยกระทรวงทบวงกรม การปกครองส่วนภูมิภาคแบ่งออกเป็นจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน เขตการปกครองส่วนท้องถิ่นแบ่งออกเป็นเทศบาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ได้กำหนดให้มีการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นจังหวัดและอำเภอ

จังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคลการตั้งยุบและเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาข้าราชการของหน่วยงานต่างๆ ทั้งในและนอกสังกัดกระทรวงมหาดไทยและรับผิดชอบงานบริหารราชการของจังหวัดส่วนราชการที่สำคัญและสังกัดกระทรวงมหาดไทย คือสำนักงานจังหวัดและที่ทำการปกครองจังหวัด

อำเภอเป็นหน่วยราชการบริหารรองจากจังหวัดการตั้งยุบและเปลี่ยนเขตอำเภอให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา มีนายอำเภอเป็นหัวหน้าปกครอง บังคับบัญชาบรรดาข้าราชการในอำเภอ และงานบริหารราชการ ของอำเภอ ส่วนราชการประจำอำเภอที่สำคัญ คือ ที่ทำการปกครองอำเภอ และสำนักงานอำเภอ

กิ่งอำเภอ เป็นส่วนหนึ่งของอำเภอ ตั้งตามกฎหมายลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2547 มีปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอเป็นหัวหน้า มีองค์กรที่สำคัญ คือ ที่ทำการปกครองกิ่งอำเภอ

ตำบลและหมู่บ้าน เป็นหน่วยการปกครองส่วนย่อยของอำเภอ หรือกิ่งอำเภอ ตั้งตาม พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ตำบลจัดตั้งขึ้นโดยประกาศของกระทรวงมหาดไทย มีกำนันเป็นผู้รับผิดชอบตำบล ส่วนหมู่บ้าน จัดตั้งโดยประกาศจังหวัด มีผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้รับผิดชอบหมู่บ้าน

นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีเขตการปกครองพิเศษ 2 แห่ง คือ กรุงเทพมหานคร และ เมืองพัทยา พระราชบัญญัติกรุงเทพมหานคร (กทม.) แบ่งการปกครองออกเป็นเขต (อำเภอ) แขวง (ตำบล) แม้จะยังมีหมู่บ้านอยู่บ้างในเขตรอบนอกก็ยังจัดอยู่ในแขวง

กทม.มีสภากรุงเทพมหานคร ซึ่งทำหน้าที่นิติบัญญัติมีสมาชิกมาจากการเลือกตั้งเขตละ 1 คน เรียกว่าสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร หรือ ส.ก.มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด ทำหน้าที่บริหาร 1 คน และรองผู้ว่าการอีกจำนวนหนึ่ง (4 คน) ซึ่งผู้ว่าราชการ กทม.เป็นผู้แต่งตั้ง มีข้าราชการตั้งแต่ปลัด กทม.ลงไปถึงพนักงานทั้งสังกัดเขตและสังกัดสำนักอีกจำนวนหนึ่ง มีข้อบัญญัติของตนเองที่ออกโดยสภา กทม.

ส่วนเขตปกครองทั้ง 50 เขต มีสภาเป็นของตัวเอง คือสภาเขต มาจากการเลือกตั้งมีจำนวนเขตละ 7 คน (โดยประมาณ) มีผู้อำนวยการเขตมาจากการแต่งตั้งของผู้ว่าราชการ กทม. เช่นเดียวกับผู้อำนวยการสำนัก นอกจากนั้น กทม.ยังมีคณะกรรมการกรุงเทพมหานคร (กก.) ประหนึ่งที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการ กทม.อีกชุดหนึ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น