วันเสาร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2552

การคมนาคม กรุงเทพมหานคร

เดิมทีกรุงเทพมหานครใช้การสัญจรทางน้ำเป็นหลัก โดยมีคลองมากจนได้ฉายาว่า เวนิสตะวันออก แต่ปัจจุบันบางแห่งได้มีการถมคลองเพื่อที่อยู่อาศัย การคมนาคมจึงเน้นหนักไปทางบกแทน

กรุงเทพมหานครได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่การจราจรติดขัดเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ได้มีการแก้ไขปัญหาการจราจรมากมาย เช่น การสร้างทางด่วน หรือ รถไฟฟ้า ขึ้น

การคมนาคมในกรุงเทพมหานคร นั่นสามารถทำได้หลายทาง เช่น การนั่งรถโดยสารประจำทาง (รถเมล์) แท็กซี่ รถจักรยานยนต์รับจ้าง

รถโดยสารประจำทาง จะมีหลายสายเพื่อเป็นการบริการประชาชน ให้บริการในราคาย่อมเยา สำหรับรถโดยสารประจำทางจะเริ่มต้นที่ 7 บาท สำหรับรถพัดลมของขสมก. และ 11 บาทสำหรับรถปรับอากาศ และ 12 บาทสำหรับรถโดยสารปรับอากาศแบบยูโร 2

นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นมา ได้มีการปรับอัตราค่าโดยสารแท๊กซี่ขึ้น โดยอัตราค่าโดยสารที่ใช้กันอยู่ คือ

กิโลเมตรที่ ค่าโดยสาร
0-1 35 บาท
1-12 5 บาท/กิโลเมตร
12-20 5.50 บาท/กิโลเมตร
20-40 6 บาท/กิโลเมตร
40-60 6.50 บาท/กิโลเมตร
60-80 7.50 บาท/กิโลเมตร
80 ขึ้นไป 8.50 บาท/กิโลเมตร

การจราจรในกรุงเทพมหานคร
ทางรถยนต์
กรุงเทพมหานครเป็นจุดเริ่มต้นของถนนหลักของประเทศไทย ได้แก่

ถนนพหลโยธิน (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 สายเหนือ)
ถนนมิตรภาพ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 สายตะวันออกเฉียงเหนือ)
ถนนสุขุมวิท (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 สายตะวันออก)
ถนนเพชรเกษม (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 สายใต้)
ถนนพระราม 2 (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35)

ทางรถไฟ
การเดินทางด้วยรถไฟสามารถทำได้ โดยมีสถานีรถไฟต้นทางสามแห่งคือ

สถานีรถไฟกรุงเทพ (สถานีรถไฟหัวลำโพง) สำหรับเดินทางไปยังภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนล่าง
สถานีรถไฟธนบุรี (สถานีรถไฟบางกอกน้อย) สำหรับเดินทางไปยังภาคใต้ตอนบนและภาคตะวันตก
สถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ สำหรับเดินทางเลียบปากอ่าวไทยไปยังปากน้ำท่าจีนและปากน้ำแม่กลอง
ในอนาคต การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ซึ่งร่วมกับสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) มีแผนที่จะปรับปรุงสถานีรถไฟชุมทางบางซื่อให้เป็นสถานีหลักเพียงแห่งเดียวของกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ จะมีการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟทางไกลทั้งสามส่วนเข้าด้วยกันภายใต้โครงการรถไฟฟ้าชานเมือง (สายสีแดงเข้ม รังสิต-มหาชัย และสายสีแดงอ่อน ตลิ่งชัน-สุวรรณภูมิ)


รถๆฟฟ้าบีทีเอสบริเวณแยกศาลาแดง
ทางรถไฟฟ้า
เมื่อปี พ.ศ. 2542 โครงการรถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS - ย่อมาจาก Bangkok Transit System) ได้เปิดใช้งาน ซึ่งเป็นรถไฟระบบรางคู่ที่สร้างบนทางยกระดับ เป็นรางมาตรฐาน 1.435 เมตร

ทางรถไฟฟ้าที่ดำเนินการในปัจจุบันมีดังนี้


สายสุขุมวิท (สีเขียวอ่อน)
สายสีลม (สีเขียวเข้ม)

ทางเข้าสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินห้วยขวาง
ทางรถไฟใต้ดิน
รถไฟใต้ดินได้เปิดบริการเมื่อปีพ.ศ. 2547 ในชื่อโครงการรถไฟฟ้ามหานคร เป็นรางมาตรฐาน 1.435 เมตร


สายเฉลิมรัชมงคล (สีน้ำเงิน)

ทางรถโดยสารประจำทาง (ต่างจังหวัด)
รถโดยสารประจำทางหรือรถโดยสารประจำทางปรับอากาศ สำหรับเดินทางไปจังหวัดต่างๆ ในประเทศไทย โดยมีสถานีหลักอยู่ที่

สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) (หรือที่เรียกกันติดปากว่า หมอชิตใหม่ หรือ หมอชิต 2) สำหรับเดินทางขึ้นเหนือ ไปภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง (รวมทั้งภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคใต้ในบางเส้นทาง)
สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (เอกมัย) สำหรับเดินทางไปภาคตะวันออก
สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี) สำหรับเดินทางลงใต้ ไปภาคใต้และภาคตะวันตก

ทางรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ
รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ คือระบบขนส่งมวลชนใหม่ของกรุงเทพมหานคร มีลักษณะคล้ายกับรถประจำทาง แต่การเดินของรถนั้นแยกออกจากถนนปกติ สายที่กำลังก่อสร้างอยู่ในปัจจุบันคือ สายช่องนนทรี-ราชพฤกษ์ ระยะทาง 16.5 กิโลเมตร โดยจะสามารถเปิดทดลองวิ่งได้ในวันที่ 12 สิงหาคมนี้ และจะให้บริการฟรีเป็นเวลา 6 เดือน

ทางอากาศ
การเดินทางทางอากาศ ในอดีตได้ใช้สนามบินดอนเมือง (ท่าอากาศยานกรุงเทพ) ซึ่งได้เปิดใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2457 ต่อมาได้มีการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (อยู่ในพื้นที่ของจังหวัดสมุทรปราการ) ซึ่งได้เปิดใช้มาตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 เวลา 03.00 น

ในปัจจุบัน ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมืองเป็นท่าอากาศยานสำหรับรองรับเที่ยวบินภายในประเทศ และมีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิสำหรับเที่ยวบินต่างประเทศและเที่ยวบินในประเทศบางส่วน


ทางน้ำ
เรือโดยสารทั้งทางแม่น้ำเจ้าพระยา และคลองมีดังนี้

เรือโดยสารคลองแสนแสบ
เรือหางยาวโดยสารคลองพระโขนง (พระโขนง - ตลาดเอื่ยมสมบัติ)
เรือด่วนเจ้าพระยา: เรือด่วนประจำทางและเรือด่วนพิเศษ (ธงส้ม ธงเหลือง ธงฟ้า และธงเขียว-เหลือง)
เรือหางยาวด่วนคลองบางกอกน้อย
เรือด่วนสาทร-คลองเตย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น